วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Learning Log 8

การถ่ายทอดตัวษร
Transliteration

การถ่ายทอดตัวอักษร เป็นระบบในการเขียนเสียงพูดของมนุษย์จากภาษาหนึ่ง เป็นระบบตัวอักษรในอีกภาษาหนึ่งตามกฎที่วางไว้ เพื่อให้คงเสียงของภาษาต้นฉบับ การถอดเสียงนี้จะแตกต่างกับการทับศัพท์แบบถอดอักษร ซึ่งเปลี่ยนระบบตัวอักษรจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง เพื่อให้คงรูปของตัวอักษรมากที่สุดที่เป็นไปได้  ซึ่งหมายถึงการนำคำในภาษาหนึ่งมาเขียนด้วยตัวอักษรของอีกภาษาหนึ่งโดยพยายามให้การเขียนในภาษาใหม่นี้ถ่ายทอดเสียงของคำในภาษาเดิมให้ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะทำได้การถ่ายทอดตัวอักษรมีบทบาทในการแปลจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่งในกรณีต่อไปนี้
                1 เมื่อในภาษาต้นฉบับมีที่ใช้แทนชื่อเฉพาะของสิ่งต่างๆเช่นชื่อคนชื่อสถานที่ชื่อภูเขาแม่น้ำหรือแม้แต่ชื่อสถาบันต่างๆ
                2 เมื่อคำในภาษาต้นฉบับมีความหมายอ้างอิงถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรมที่ไม่มีในสังคมของภาษาฉบับแปลจึงไม่มีคำเปรียบเทียบได้เช่นคำที่ใช้เรียกต้นไม้ซับและกิจกรรมบางชนิดความคิดในกรณีนี้ พูดเลยอาจแก้ปัญหาได้สองประการคือ (1) ใช้วิธีการให้คำนิยามหรือคำอธิบายที่บอกลักษณะตรงกับคำเดิมนั้นหรือ (2) ใช้ทับศัพท์ตัวอย่างเช่นคำว่าฟุตบอลซึ่งเมื่อถ่ายทอดเป็นอักษรภาษาไทย จะให้คำนิยามว่าลูกกลมกลมที่ทำด้วยหนังในการทำดังนี้ผู้ป่วยควรยึดหลักปฏิบัติในการโทรเสียงของคำดังต่อไปนี้
                                1. ให้อ่านคำนั้นเพื่อให้รู้ว่าคำนั้นออกเสียงอย่างไรประกอบด้วยเสียงอะไรบ้างแล้วห้าตัวอักษรในภาษาฉบับแรกที่มีเสียงใกล้เคียงกันมาแล้วเขียนแทนเสียงนั้นๆ
                                2. ภาษาทุกภาษาจะมีเสียงพยัญชนะและตรงกันเป็นส่วนมากและผู้แปลจะหาตัวอักษรมาเขียนแทนได้เลยเช่นการใช้พอพานแทนเสียงแรกในคำว่าพอเป็นต้นแต่ก็จะมีเสียงจำนวนหนึ่งซึ่งไม่มีอักษรที่แทนเสียงตรงกับในฉบับแปล
                3 เมื่อกำหนดตัวอักษรตัวได้ตัวหนึ่งแผ่นเสียงใดเสียงหนึ่งแล้วให้ใช้ตัวนั้นตลอดไปอย่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่แน่นอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทแรกบทเดียวกันต้องใช่รักการถ่ายทอดอย่างเดียวตลอดไป
                4 สำหรับการยืมคำศัพท์มาใช้โดยเขียนลงเป็นภาษาฉบับแปลถ้าคำคำนั้นยังไม่เป็นที่แพร่หลายให้วงเล็บพร้อมดื่มในต้นฉบับไว้ด้วย

ตารางเทียบเสียงพยัญชนะ

หมายเหตุ :
1. ในทางสัทศาสตร์ ใช้ h เป็นตัวสัญลักษณ์เพื่อแสดงลักษณะเสียงธนิต (เสียงที่กลุ่มลมพุ่งตามออกมาในขณะออกเสียง) h ที่ประกอบหลัง k p t จึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางสัทศาสตร์ดังนี้
- k แทนเสียง ก เพราะเป็นเสียงสิถิล (เสียงที่ไม่มีกลุ่มลมพุ่งออกมาในขณะออกเสียง) kh จึงแทนเสียง ข ฃ ค ฅ ฆ เพราะเป็นเสียงธนิต
- p แทนเสียง ป ซึ่งเป็นเสียงสิถิล ph จึงแทนเสียง ผ พ ภ เพราะเป็นเสียงธนิต ไม่ใช่แทนเสียง ฟ
- t แทนเสียง ฏ ต ซึ่งเป็นเสียงสิถิล th จึงแทนเสียง ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ เพราะเป็นเสียงธนิต
2. ตามหลักสัทศาสตร์ ควรใช้ c แทนเสียง จ ซึ่งเป็นเสียงสิถิล และ ch แทนเสียง ฉ ช ฌ ซึ่งเป็นเสียงธนิต ดังที่ใช้กันในภาษาบาลี-สันสกฤต เขมร ฮินดี อินโดนีเซีย และภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษแต่ที่มิได้แก้ไขให้เป็นไปตามหลักสัทศาสตร์ เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้ไข้วเขวกับการสะกดและออกเสียงตัว c ในภาษาอังกฤษซึ่งคนไทยมักใช้แทนเสียง ค หรือ ซ ตัวอย่างเช่น จน/จิต หากเขียนตามหลักสัทศาสตร์เป็น con/cit ก็อาจจะออกเสียงตัว c เป็นเสียง ค ในคำว่า con และออกเสียง ช ในคำว่า cit ดังนั้นจึงยังคงใช้ ch แทนเสียง จ ตามที่คุ้นเคย เช่น จุฬา = chula , จิตรา = chittra

ตารางเทียบเสียงสระ

หมายเหตุ ::
1. ตามหลักเดิม อึ อื อุ อู ใช้ u แทนทั้ง ๔ เสียง แต่เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเสียง อึ อื กับ อุ อู จึงใช้ u แทน อุ อู และใช้ ue แทน อึ อื
2. ตามหลักเดิม เอือะ เอือ อัวะ อัว ใช้ ua แทนทั้ง ๔ เสียง แต่เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเสียง เอือะ เอือ กับ อัวะ อัว จึงใช้ ua แทน อัวะ อัว และ uea แทน เอือะ เอือ เพราะ เอือะ เอือ เป็นสระประสมซึ่งประกอบด้วยเสียง อึ หรือ อื (ue) กับเสียง อะ หรือ อา (a)
3. ตามหลักเดิม อิว ใช้ iu และเอียว ใช้ ieu แต่เนื่องจากหลักเกณฑ์นี้เสียงที่มี ว ลงท้ายและแทนเสียงด้วย o ซึ่งได้แก่ เอา อาว (ao) , เอ็ว เอว (eo) , แอ็ว แอว (aeo) ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน อิว ซึ่งเป็นเสียง อิ กับ ว จึงแทนด้วย i + o คือ io ส่วนเสียง เอียว ซึ่งมาจากเสียง เอีย กับ ว จึงแทนด้วย ia + o เป็น iao
* ไม่มีคำประสมด้วยสระเสียงนี้ในภาษาไทย


การถ่ายทอดตัวอักษร เป็นระบบหนึ่งในการเขียนเสียงพูดของมนุษย์จากภาษาหนึ่ง เป็นระบบตัวอักษรในอีกภาษาหนึ่งตามกฎที่วางไว้ เพื่อให้คงเสียงของภาษาต้นฉบับ ผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษจำเป็นต้องรู้หลักการถ่ายทอดตัวอักษรที่ถูกต้องเพื่อที่จะสามารถนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในงานเขียนต่างๆ เช่น การสะกดชื่อ การตั้งชื่อ การเขียนงานประเภทต่างๆ คำบางคำหากสะกดผิดไปเพียงตัวเดียวก็อาจจะทำให้ความหมายเปลี่ยนไปทั้งหมดได้ เพราะอาจจะเกิดจากความเคยชินของเราว่าใช้ตัวอักษรนี้ แต่ความจริงอาจจะใช้ตัวนั้นไม่ได้ เพียงแต่มีเสียงอักษรหรือออกเสียงสระคล้ายคลึงกันเท่านั้น  ซึ่งในการถ่ายทอดตัวอักษรนี้ล้วนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ผู้ใช้ภาษาจำเป็นต้องใช้เรียนรู้หลักการที่ถูกต้องเพื่อนำไปใช้อย่างเหมาะสมต่อไป  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น