วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Learning Log 10

การแปลบันเทิงคดี
The Translation of Literary Work

บันเทิงคดี หมายถึง เรื่องสมมติที่สร้างขึ้นมาอย่างมีจินตนาการและอารมณ์ มุ่งให้ความเพลิดเพลินเป็นใหญ่ แต่ก็ให้ความรู้ด้วย มีหลายรูปแบบ เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร ฯลฯ บันเทิงคดีจึงเป็นงานเขียนที่ผู้เขียนมีเจตนานให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินจากการอ่านโดยมีเกร็ดความรู้ ข้อคิด คติธรรม และประสบการณ์ชีวิตแทรกอยู่ในเรื่องนั้น ๆ
      1. องค์ประกอบของงานเขียนบันเทิงคดี
บันเทิงคดีเป็นงานเขียนที่มีรูปแบบแตกต่างจากสารคดี ทั้งในด้านเนื้อหาและองค์ประกอบของภาษา อาจจะนำเสนอทั้งในเนื้อหาที่มีความจริงบ้าง สอดแทรกทัศนคติบ้าง มีจุดประสงค์เพื่อให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน ดังนั้นบันเทิงคดีจึงเป็นการถ่านทอดสิ่งที่เป็นจินตนาการของผู้เขียน หรือเป็นการถ่ายทอดจินตนาการของผู้เขียนผสมผสานกับความจริง ซึ่งจะมีภาษาที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ผู้แปลจึงต้องศึกษาและฝึกฝนทักษะการแปลอย่างจริงจังเพื่อสามารถเข้าใจเนื้อหาอย่างถูกต้อง
ในการแปลบันเทิงคดีผู้แปลต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือ องค์ประกอบด้านภาษา (Language element) และองค์ประกอบที่ไม่ใช่ภาษา (Non - Language element) หมายถึงอารมณ์และท่วงทำนองของงาน องค์ประกอบด้านอารมณ์และท่วงทำนองจะสะท้อนออกในองค์ประกอบของภาษา ดังนั้นผู้แปลต้องใส่ใจในการแปลเป็นอย่างมาก
      2.องค์ประกอบด้านภาษา
                องค์ประกอบด้านภาษาที่เกี่ยวข้องกับการแปลงานบันเทิงคดีสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม  ได้แก่ การใช้สรรพนามและคำเรียกบุคคล (form of address) การใช้คำที่มีความหมายแฝง (connotation) และภาษาเฉพาะวรรณกรรม (figurative language)
-                   ภาษาที่มีความหมายแฝง (connotation)  คือคำศัพท์ที่มีความหมายตรงตัวหรือความหมายตามตัวอักษร แต่มีคำศัพท์จำนวนมากซึ่งนอกจากมีความหมายตรงตัวแล้วยังมีความหมายแฝงอีกด้วย ผู้แปลต้องใส่ใจต่อคำศัพท์ทุกตัวเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการแปล ในการแปลนี้ผู้แปลไม่ควรใช้พจนานุกรม 2 ภาษาเพียงอย่างเดียว แต่ควรใช้พจนานุกรมภาษาเดียว และค้นคว้าเพิ่มเติมอีกด้วย
-                   ภาษาเฉพาะวรรณกรรมหรือโวหารภาพพจน์ มีรูปแบบภาษาเฉพาะหลายชนิด ซึ่งผู้แปลจะต้องรอบรู้และนำมาใช้อย่างเหมาะสม มีลักษณะคือการสะท้อนวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ลงไปในตัวภาษา เชื่อโยงไปยังแง่มุมของวัฒนธรรมและอารยธรรมของมนุษยชาติโดยการถ่ายทอดทางภาษา ผู้แปลต้องศึกษารายละเอียดของวัฒนธรรมภาษาทั้งในภาษาไปและภาษามาอย่างลึกซึ้ง  สามารถแบ่งอออกเป็น 2 รูปแบบได้ดังนี้
1. รูปแบบของโวหารอุปมาอุปไมย คือ การสร้างภาพพจน์โดยใช้กลวิธีการเปรียบเทียบเพื่อชี้แจง อธิบายหรือเน้นสิ่งที่กล่าวถึงให้ชัดเจนและเห็นภาพพจน์มากขึ้น  อุปมาอุปไมยทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษมีองค์ประกอบทางไวยากรณ์อย่างชัดเจนตายตัว โครงสร้างจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ผู้แปลต้องวิเคราะห์การใช้โวหารในต้นฉบับให้ถูกต้องว่าเป็นประเภทไหน หากเป็นการสมมุติที่อาจจะเกิดขึ้นได้  ต้องใช้โครงสร้างประโยคเงื่อนไขแบบที่ 1 (conditional sentence type 1) แต่หากโวหารเป็นการเปรียบเทียบหรือสมมุติสิ่งที่ไม่สามารถเกิดขึ้นหรือเป็นจริงได้ ผู้แปลจะต้องเลือกใช้โครงสร้างประโยคเงื่อนไขแบบที่ 2  (conditional sentence type 2 )
2.  รูปแบบของโวหารอุปลักษณ์ (metaphor) หมายถึงการเปรียบเทียบความหมายของสองสิ่งโดยนำความเหมือนและไม่เหมือนของสิ่งที่จะเปรียบเทียบ ซึ่งโวหารอุปลักษณ์จำนวนมากของแต่ละภาษาจะมีลักษณะเฉพาะในภาษานั้นๆ การแปลจึงต่างจากการแปลทั่วๆไป
3. การแปลโวหารอุปมาอุปไมยและโวหารอุปลักษณ์ เป็นที่ปากกฎในภาษาไทยและอังกฤษ ผู้แปลต้องคำนึงถึงความจริงบางประการที่เกี่ยวกับภาษา ซึ่งภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารซึ่งถ่ายทอดความหมายและวัฒนธรรมของชาตินั้น ที่ประกอบเป็นสังคมทั้งเล็กและใหญ่ และยังต้องคำนึงถึงองค์ประกอบของวัฒนธรรมของชาติ 2 ชาติที่ต่างกันด้วย ผู้แปลจึงต้องปรับโวหารให้เหมาะสมกับวัฒนธรรม โดยมีหลักปฏิบัติดังนี้
   - เมื่อรูปแบบของภาษาสอดคล้องกันและความหมายเหมือนกัน ผู้แปลต้องแปลตามตัวอักษรเท่านั้น
   - หากโวหารไม่มีความสำคัญต่อเนื้อหาของงานเขียน สามารถตัดทิ้งโดยไม่ต้องแปล
   - เมื่องานเป็น authoritative text ผู้แปลควรแปลตามตัวอักษรโดยใส่หมายเหตุของผู้แปลเพื่อชี้แจงข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น หรืออธิบายความหมาย
  - สืบค้นโวหารที่ปรากฏในงานเขียนชนิดต่าง ๆ ในภาษาแปล
                อย่างไรก็ตามในการแปลสำนวนโวหารทั้งสอบประเภทนี้ เราจะพบว่าการเปรียบเทียบส่วนมากมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมในภาษาต้นฉบับเสมอ การยึดหลักการแปลในข้อ a จึงเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นในการแปลอุปมาอุปไมยและอุปลักษณ์ต่างๆ นอกจากหลักการข้อ a-c แล้วผู้แปลยังจำเป็นต้องสืบค้นจากเอกสารเพิ่มเติมอีกด้วย เพื่อศึกษาว่ามีโวหารที่มีความหมายเหมือนกับโวหารในภาษาต้นฉบับที่ต้องหารแปลหรือไม่ หากไม่มีต้องศึกษาต่อว่าหมายถึงสิ่งใด ควรแปลหรือตัดทิ้งได้หรือไม่ เพื่อให้ได้งานที่สมบูรณ์และถูกต้องตามต้นฉบับมากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น