วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Learning Log 4

ภาษาที่เป็นธรรมชาติ

มนุษย์ใช้ภาษาสื่อความรู้ ความคิดความต้องการ ความเข้าใจ และประสบการณ์ต่างๆ ชนทุกชาติมีภาษาใช้สื่อสารเพื่อถ่ายทอดศิลปะวิทยาการให้แก่กัน ภาษาจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์     การมีความรู้     ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของภาษาและพลังของภาษา จะช่วยให้ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ชัดเจนถูกต้อง สามารถพัฒนาทักษะทางภาษาได้ตามกระบวนวิธี ตระหนักถึงความงาม ความเหมาะสม ความหมายของภาษาได้อย่างแท้จริง ซึ่งภาษาธรรมชาตินั้นเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่นำมาใช้ในการแปล คือ นำมาช่วยในการเรียบเรียงคำหรือประโยคให้ดูสละสลวยน่าสนใจมากยิ่งขึ้น  ในการเขียนบทแปลที่ดีต้องเขียนด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งหมายถึง ภาษาเขียน ภาษาพูดที่คนไทยทั่วไปใช้กันจริงในสังคมไทย ทั้งนี้เพื่อให้คนไทย ผู้อ่านผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้ทันทีไม่มีอุปสรรคในการรับสารที่สื่อจากบทแปล ซึ่งองค์ประกอบที่นักเรียนต้องพิจารณาในการเขียนบทแปลด้วยภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่องค์ประกอบย่อยของการแปล คือ คำ ความหมาย การสร้างคำ และสำนวนโวหารดังนี้

คำ ความหมาย และการสร้างคำ

คำและความหมายคำ  บางคำมีความหมายแตกต่างกันหลายอย่าง มีทั้งความหมายตรงและความหมายแฝง หรือความหมายเชิงเปรียบเทียบ ซึ่งคำบางคำมีความหมายต่างกันไปตามยุคสมัย ในสมัยก่อนมีความหมายอย่างหนึ่ง แต่ในปัจจุบันมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง บางครั้งก็ตรงกันข้างกัน บางครั้งก็มีความหมายไปในทางที่ดี บางครั้งก็มีความหมายเลวลง  ในการพูดหรือการเขียน ที่ต้องการแสดงอารมณ์อาจจะนำคำที่มีความหมายไม่ดีมาใช้ให้เกิดความหมายที่ดีขึ้นก็ได้ การเลือกใช้คำขึ้นอยู่กับความหายของประโยคที่แปลว่าต้องการให้เกิดความรู้สึกแบบใดโดยจะเน้นให้ผู้อ่านบทเกิดความรู้สึกจริงๆ มากกว่าการใช้คำ

การสร้างคำกริยา

ในการสร้างคำกริยานี้จะกล่าวถึงการเสริมท้ายคำกริยาด้วยคำกิริยา ซึ่งบางคนอาจจะเห็นว่าทำให้ภาษายุ่งยาก แต่อย่างไรก็ตาม บางครั้งมันก็ทำให้ชัดเจนขึ้นถ้าเราเข้าใจความหมายที่แท้จริงดังเดิมของมันอยู่แล้ว ซึ่งคำกริยาที่นำมาเสริมนั้นจะเป็นคำง่ายๆที่ใช้อธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้นนั่งเอง

การเข้าคู่คำ

ในข้อนี้จะเป็นการนำคำหลายคำมาเข้าคู่กัน เพื่อให้ได้คำใหม่โดยมีความหมายใหม่ หรือมีความหมายดังเดิมอย่างเช่น คู่คำพ้องความหมาย จะเป็นคำในภาษาเดียวกัน, คำภาษาต่างประเทศหรือคำภาษาถิ่นก็ได้ ส่วนมากจะมีความหมายดังเดิมจะเพิ่มมาให้เราเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น เช่นคำว่า สุขสบาย , ห้ามไม่ให้ , แข็งแรง เป็นต้น คู่คำที่มีความหมายตรงข้าม ส่วนมากจะได้ความหมายใหม่ เช่น ผู้ใหญ่ผู้น้อย , งานหนักเบา , ความรู้สึกผิดชอบ เป็นต้น และ คู่คำที่มีความหมายต่างกัน มักจะได้ทำใหม่ที่มีความหมายเดิมเหลืออยู่  เช่น ลูกเมีย , รถไฟ , พี่ป้าน้าอา  เป็นต้น

                สำนวนโวหาร

ในการแปลขั้นสูงนี้ผู้แปลจะต้องรู้จักสำนวนการเขียนและการใช้โวหารหลายๆรูป แบบมิฉะนั้นจะทำให้บทความที่แปลมีความหมายไม่ชัดเจน เข้าใจยาก บางครั้งอาจจะเข้าใจผิดก็ได้ อ่านแล้วทำให้รู้สึกมึนงง โดยที่ผู้เขียนจะใช้สำนวนโวหารแปลกๆซับซ้อน เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความบันเทิง เช่น จนกระทั่ง กับ แก่ เพื่อที่จะเป็นต้น  สำนวนที่มีคำซ้ำ  หมายถึงทั้งคำเดียวกัน และซ้ำกัน ก็คือ ซ้ำรูป ที่เรารู้จักกันทั่วไป  และคำที่มีความหมายเหมือนกัน ก็คือซ้ำความหมาย ในการใช้คำซ้ำนี้ มีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ปะปนกันดังนั้นเราต้องมีทักษะในการใช้ที่ถูกต้อง ข้อดีของการใช้คำซ้ำคือเพื่อความไพเราะ มีความหมายอ่อนลง เพื่อให้ได้คำใหม่ใช้ เพื่อแสดงว่ามีจำนวนมาก ปริมาณมาก หรือเป็นพหูพจน์

                โวหารภาพพจน์

โวหารภาพพจน์ เป็นโวหารที่นักแปลต้องทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เนื่องจากจะมีการสร้างภาพพจน์อย่างกว้างขวาง สลับซับซ้อน มักทำให้ผู้อ่านตามไม่ทันและไม่เข้าใจเนื้อเรื่องได้ โวหารภาพพจน์สามารถแบ่งได้ออกดังนี้
1.                โวหารอุปมา คือ การสร้างภาพพจน์ด้วยการเปรียบเทียบ โดยมีจุดมุ่งหมายจะชี้แจง อธิบาย พูดพาดพิง หรือเสริมให้งดงามขึ้น การเปรียบเทียบนี้มักจะใช้คำเชื่อมเป็นตัวช่วยเพื่อให้เกิดความสละสลวยมากยิ่งขึ้น มักใช้คำว่า เหมือนราวกับ ดุจ ประดุจ ประหนึ่ง และอื่น ๆ ที่มีความหมายอย่างเดียวกัน  ซึ่งจะเป็นวลีสั้นๆ หรือโวหารก็ได้
2.                โวหารอุปลักษณ์ คือ การเปรียบเทียบความหมายโดยการนำความเหมือนและไม่เหมือนของสิ่งที่เปรียบเทียบมากล่าว  การเปรียบเทียบนี้แสดงคำพูดในชั้นสูง จะเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้คำพื้นๆ ไปสู่คำใหม่ที่น่าตื่นตาตื่นใจกว่า แต่จะเหลือร่องรอยเดิมไว้
3.                โวหารเย้ยหยัน  คือ การใช้คำด้วยอารมณ์ขัน เพื่อยั่วล้อ เย้ยหยัน เหน็บแนม หรือชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่อง และความไม่ฉลาดของสิ่งที่ต้องการจะกล่าวถึง จัดทำขึ้นมาเพื่อแกล้งทำเป็นไม่รู้เรื่องราวต่าง ๆ แต่ความจริงคือรู้อยู่แล้ว เป็นถ้อยคำที่ถากถาง แดกดัน และขบขับ
4.                โวหารขัดแย้ง คือการใช้คำที่มีความหมายตรงข้ามกันมาเรียงต่อกันโดยรักษาสมดุลไว้  หรือ เป็นการกล่าวโดยขัดแย้งกับความจริง ความเชื่อ และความคิดเห็นของบุคคลทั่วไป
5.                โวหารที่ใช้ส่วนหนึ่งแทนทั้งหมด  ได้แก่การนำคุณสมบัติเด่น ๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาใช้ แทนที่จะเอ่ยนามสิ่งนั้นออกมาตรง ๆ รวมทั้งส่วนประกอบของสิ่งของและของใช้ประจำของบุคคลโดยไม่กล่าวชื่อของสิ่งของหรือบุคคลนั้น ๆ ซึ่งเป็นคำที่ผู้คนนิยมใช้กันแพร่หลายมานานแล้ว
6.                โวหารบุคลาธิษฐาน คือ การนำสิ่งต่างๆ ที่ไม่มีชีวิต รวมทั้งความคิด การกระทำ และนามธรรมอื่นๆ มากล่าวเหมือนเป็นบุคคล ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้มากที่สุดในงานร้อยกรอง
7.                โวหารที่กล่าวเกินจริง  จะมีจุดประสงค์ที่เน้นให้เห็นความสำคัญ  ชี้ให้ชัดเจนและเด่น และใช้เพื่อแสดงอารมณ์ที่รุนแรง ไม่ต้องการอธิบายข้อเท็จจริง

ลักษณะที่ดีของสำนวนโวหาร

ในการแต่งหนังสือที่ดีและเพื่อผลงานที่ออกมาสละสลวย เนื้อหาน่าสนใจนั้น จะมีการใช้โวหารที่ถูกต้องโดยจะมีลักษณะดังนี้
1.                ถูกหลักภาษา  คือไม่ขัดกับหลักไวยากรณ์ ถึงจะไม่ถูกต้องทั้งหมดแต่ก็ถูกต้อง มีการเล่นคำไม่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิด
2.                ไม่กำกวม  สำนวนโวหารที่ดีจะต้องชัดเจน  แม่นตรง  ไม่ชวนให้เข้าใจไขว้เขว  หรือเกิดสงสัย
3.                มีชีวิตชีวา  คือ ไม่แนบนาบ  เฉยชา ยืดยาด  แต่มีชีวิตชีวา เร้าใจ  ชวนให้ผู้อ่านรู้สึกกระตือรือร้น สนใจ และทำให้ผู้อ่านอยากอ่านต่อจนจบเรื่องอย่างไม่เบื่อหน่าย
4.                สมเหตุสมผล  น่าเชื่อถือ  มีเหตุผลรอบคอบ  ไม่มีอคติ  ไม่สร้างความหลงผิดให้แก่ผู้อ่าน
5.                คมคายเฉียบแหลม  คือ  การใช้คำพูดที่เข้มข้น  หนักแน่น  แฝงข้อคิดที่ฉลาด โดยใช้ถ้อยคำเพียงไม่กี่คำ  ส่วนมากแล้วใช้เป็นสุภาษิต คำคม คำพังเพย แฝงไว้ในเรื่องให้ผู้อ่านเกิดแง่คิดความรู้

ภาษาไทยนั้นมนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่นทั่วทั้งในประเทศ  ผู้ใช้ภาษาควรใช้ภาษาไทยได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยการเลือกใช้ คำ ความหมาย  การสร้างคำ การใช้สำนวนโวหารที่น่าสนใจ  เพื่อช่วยให้ใช้ภาษาในสื่อสารได้ชัดเจนถูกต้อง สามารถพัฒนาทักษะทางภาษาได้ตามกระบวนวิธี ภาษาธรรมชาตินั้นเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่นำมาใช้ในการแปล  ในการเขียนบทแปลที่ดีต้องเขียนด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งหมายถึง ภาษาเขียน ภาษาพูดที่คนไทยทั่วไปใช้กันจริงในสังคมไทย ทั้งนี้เพื่อให้คนไทย ผู้อ่านผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้ทันทีไม่มีอุปสรรคในการรับสารที่สื่อจากบทแปลด้วยภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น