วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Learning Log 1

กระบวนการแปล
(Process of Translating)

การแปลเป็นหนึ่งทักษะที่ถือว่าสำคัญมากในการเรียนภาษาต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี หรืออังกฤษ เพราะการแปลเป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างผู้คนต่างภาษา กล่าวคือ การพบปะพูดคุยติดต่อสื่อสารกันนั้น หากคู่สนทนา ไม่ได้ใช้ภาษาเดียวกับเรา ก็จะเกิดปัญหาในการพูดคุย เราไม่เข้าใจในสิ่งที่เขาต้องการสื่อออกมา อีกทั้ง หากใช้ภาษาที่เรามีความรู้อยู่แล้ว พูดได้ ฟังได้ แต่แปลความหมายในสิ่งที่เขาต้องการสื่อไม่ได้ ก็ถือว่า ไร้ประโยชน์เช่นกัน ดังนั้น จะเห็นได้ว่า นอกจากการพูด ฟัง และเขียนได้นั้น ไม่เพียงพอ เราต้องสามารถเปลความหมายได้ด้วย ในการแปลนั้นก็ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องที่ง่ายเลย เราจำเป็นต้องรู้คำศัพท์เป็นจำนวนมาก รู้หลักการแปล รูปแบบการแปลต่าง ๆ นานา ซึ่งการแปลมีมากมายหลากหลายรูปแบบ แต่การแปลที่มีคุณภาพและเป็นวิธีที่คนทั่วไปนำเอาไปปฏิบัติได้ และถือเป็นขั้นตอนที่นักแปลมือใหม่ก็สามารถแปลได้อย่างง่ายนั้น เรียกว่า รูปแบบการะบวนการแปล  ( Models of the Translation Process) เป็นวิธีการแปลที่มีขั้นตอนไปตามลำดับ ง่ายต่อการทำความเข้าใจและการแปล ซึ่งมีอยู่ 2 รูปแบบ   คือ รูปแบบของ Roger T. Bell (Bell’s model) และรูปแบบของ Daniel Gile (Gile’s model)
รูปแบบกระบวนการแปลของ Roger T. Bell (Bell’s model of Translation Process) Roger T. Bell ได้ให้คำจำกัดความการแปลว่า เป็น the replacement of a representation of a text in one language by a representation of an equivalent text in a second language.  Bell จึงได้สร้างแผนผังกระบวนการที่เกิดขึ้นในการเปลี่ยนภาษาต้นฉบับเป็นภาษาฉบับแปล จนสำเร็จและเกิดเป็นกระบวนการที่เกิดภายในระบบความคิด เป็นรูปแบบง่าย ๆ มี 2 ขั้นตอนหลัก ๆ คือ
1.             Analysis เป็นการวิเคราะห์ต้นฉบับออกมาเป็นความหมายที่ยังไม่เป็นภาษา
2.             Synthesis เป็นการสังเคราะห์ความหมายเป็นภาษาฉบับแปล
นอกจากนี้ในแต่ละขั้นตอน จะมีการดำเนินการ 3 แบบ คือ syntactic , semantic และ pragmatic.  

        ขั้นตอนที่  1 การวิเคราะห์  (Analysis)  

ขั้นตอนแรกของการแปลก็คือการวิเคราะห์โครงสร้าง (Syntactic Analysis) เป็นการอ่านต้นฉบับในระดับอนุประโยคแล้ววิเคราะห์แยกออกเป็นโครงสร้างโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างภาษา ได้แก่ subject , predicator , complement , object , adjunct มาช่วยในการแปล ซึ่งในขั้นนี้จะเป็นการเข้าใจโครงสร้างมากกว่าเนื้อหา หลังจากนั้น การวิเคราะห์เนื้อหา (Semantic Analysis) เป็นการใส่เนื้อหาให้กับโครงสร้างที่ได้มาจากขั้น Syntactic Analysis มาวิเคราะห์ ว่า เนื้อหาเกี่ยวข้องกับอะไรโดยมีการวิเคราะห์การใช้ภาษา (Pragmatic Analysis) 2 แบบก็คือ การแยกเนื้อหาหลัก และการวิเคราะห์ลีลาภาษาโดยหลังจากการวิเคราะห์ทั้งสามขั้นตอนแล้วจะได้ Semantic representation  ซึ่งจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับ cause ที่นำมาวิเคราะห์ทั้งหมด  การวิเคราะห์ในรูปแบบนี้  Bell  เปรียบเสมือนการนำก้อนน้ำแข็งมาทุกย่อยและนำไปแช่ให้กลับไปเป็นก้อนน้ำแข็งใหม่ ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ เหมือนกับการนำประโยคมาแตกย่อยออกเป็นส่วนๆแล้วนำกลับมารวมให้เป็นประโยคดังเดิม
ข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนการวิเคราะห์จะถูกส่งไปยัง  Idea organizer ซึ่งจากผสมผสานข้อมูลที่วิเคราะห์เข้ากับเนื้อความทั้งหมด ควบคุมข้อมูลที่สะสมปรับข้อมูลความหมายใหม่ แล้วส่งข้อมูลไปยัง Planner  เพื่อพิจารณาในการแปลต่อไปในขั้นตอนที่ 1 นี้ นักแปลทำหน้าที่เป็นผู้อ่านภาษาต้นฉบับและมีวัตถุประสงค์เพื่อตัดสินว่าจะแปลข้อมูลที่วิเคราะห์หรือไม่ ถ้าหากไม่ใช่ก็ปรับไปวิเคราะห์ใหม่

ขั้นตอนที่  2 การสังเคราะห์  (Synthesis)  

        เมื่อดำเนินการแปลมาถึงขั้นนี้ ในภาษาต้นฉบับจะถูกวิเคราะห์ออกเป็น Semantic representationพร้อมด้วยการตัดสินว่าจะแปล ดังนั้นในการสังเคราะห์ซึ่งเป็นการสร้างข้อความที่ถ่ายทอดความหมายทั้งหมดหรือบางส่วนของต้นฉบับ ซึ่งขั้นตอนจะประกอบไปด้วย
1.             Pragmatic Synthesis ในขั้นนี้จะใช้ข้อมูล Semantic representation เมื่อพิจารณาว่าการรักษาหรือเปลี่ยนแปลงต้นฉบับในด้านความมุ่งหมายเนื้อหาหลักและลีลาภาษา
2.             Semantic Synthesis เป็นการสร้างโครงสร้างที่บรรจุเนื้อหาของข้อความเพื่อส่งต่อให้ขั้นต่อไป
3.             Syntactic Synthesis จะเป็นการตรวจสอบความเหมาะสมของความหมายและประเภทของข้อความแล้วส่งไปยังระบบการเขียนเพื่อเรียบเรียงข้อความในภาษาแปล
ซึ่งหากผู้แปลได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวแล้ว ผลที่ได้จากการสังเคราะห์ก็คือ บทแปลที่มีความหมายเหมือนเดิมตามต้นฉบับ
                รูปแบบกระบวนการแปลของ Daniel Gile (Gile’s model) ที่เรียกว่า Sequential Model of Translation เป็นรูปแบบที่อธิบายกระบวนการที่นักแปลอาชีพใช้ในการดำเนินการเปลี่ยนภาษาต้นบับเป็นภาษาฉบับแปล รูปแบบนี้สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการฝึกฝนผู้แปลโดยมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ความเข้าใจ (Comprehension)
ขั้นตอนแรกนักแปลอ่านต้นฉบับทีละ  Translation Unit  ซึ่งหมายถึงการแบ่งข้อความที่อ่านออกเป็นหน่วยเดี่ยวเพื่อดำเนินการ Translation Unit  อาจจะแบ่งเป็นเพียงคำคำเดียวหรือประโยคทั้งประโยคหรืออาจจะยาวมากกว่านั้นก็ได้ ขั้นนี้จะประกอบด้วย meaning hypothesis เป็นขั้นตอนที่นักแปลให้ความหมายชั่วคราวแก่ Translation Unit   เป็นกระบวนการภายในความคิด ในการกำหนดความหมาย นักแปลใช้ทั้งความรู้ภาษาต้นฉบับ (knowledge of the source language )และความรู้ทั่วไป  (world knowledge)  เมื่อได้ความหมายแล้วก็จะเป็นการตรวจสอบว่าใช้ได้หรือไม่ โดยการใช้ความรู้ใน knowledge base และ knowledge acquisition  หากตรวจสอบแล้วใช้ไม่ได้ นักแปลก็จะกำหนดความหมายใหม่และตรวจสอบอีกครั้งจนกว่าจะใช้ได้ เมื่อตรวจสอบพอใจแล้วก็จะดำเนินการสู่ขั้นตอนการแปลต่อไป  ในขั้นตอนนี้นักแปลมีความเข้าใจต้นฉบับเพียงความหมายของคำหรือประโยคของภาษาเท่านั้น ไม่สามารถสร้างงานแปลที่ดีได้ มีความเข้าใจไม่มากพอซึ่งวิธีเดียวที่ทำให้นักแปลมั่นใจและเข้าใจที่สุดคือการวิเคราะห์ต้นฉบับอย่างรอบคอบก่อนจะลงมือแปล
                ขั้นตอนที่ 2 การสร้างใหม่ (Reformulation)
                เมื่อนักแปลมั่นใจในความหมาย Translation Unit  เขาก็จะแปลออกมาเป็นภาษาฉบับแปล ด้วยการใช้ความรู้ภาษาฉบับแปลพร้อมด้วยความรู้ทั่วไปเช่นเดียวกับขั้นตอนที่ 1 จากนั้นนักแปลจะตรวจสอบว่าบทแปลมีข้อมูลถูกต้องตามต้นฉบับหรือไม่ และมีการเติมข้อมูลอื่นที่ไม่มีอยู่ในต้นฉบับหรือไม่ หากการทดสอบไม่เป็นที่พอใจ นักแปลจะทำแบบทดสอบเดิมอีกครั้งจนกระทั่งพอใจ นอกจากนั้นนักแปลยังทดสอบบทแปลในแง่ของการยอมรับด้านภาษาที่เหมาะสมและการใช้คำศัพท์เฉพาะ หากผลการทดสอบไม่เป็นที่พอใจ นักแปลก็จะแปลใหม่และทดสอบจนกว่าจะพอใจ ซึ่งจะตรวจสอบด้านความถูกต้องกับต้นฉบับด้วยเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น นักแปลก็เริ่มกระบวนการเช่นเดิมใหม่ต่อไปและจะดำเนินการแบบนี้จนจบข้อความที่จะแปล

การใช้กระบวนการแปล (Application of Translation Process)

กระบวนการแปลสามารถนำมาปรับเป็นรูปกระบวนการแปลที่ดำเนินการเปลี่ยนต้นฉบับที่เขียนด้วยภาษาหนึ่ง (Source Language Text-SLT) เป็นฉบับแปลที่เขียนอีกภาษาหนึ่ง (Target Language Text TLT) โดยมีความคิดพื้นฐานว่างานแปลนั้นเป็นข้อความที่เทียบเท่าและสามารถทดแทนข้อความต้นฉบับได้ดังที่  Bell ได้ให้คำจำกัดความการแปลไว้ รูปแบบกระบวนการแปรที่ปรับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นแนวทางให้นักแปลที่ยังไม่ชำนาญได้ใช้ฝึกปฏิบัติเพื่อให้ได้งานแปลที่มีคุณภาพ อันเป็นงานแปลที่สามารถถ่ายทอดต้นฉบับได้แทบทุกด้านไม่ว่าจะเป็นความหมายรูปแบบหรืออรรถรสก็ตาม

ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ต้นฉบับ (Analysis)

ในการวิเคราะห์ต้นฉบับนั้นจะวิเคราะห์เป็นหน่วย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องแบ่งต้นฉบับออกเป็นTranslation Unit  (TU) หรือ Unit of Translation (UT) ซึ่ง Translation Unit   เป็นหน่วยเล็กที่สุดของต้นฉบับที่จะสามารถแปลได้โดยแยกจากหน่วยอื่นๆ มีขนาดตั้งแต่ระดับคำไปจนถึงระดับประโยคซึ่งมักจะมีขนาดระดับ clause นอกจากนั้นจะมีการแบ่ง TU  ตามหน่วยทางไวยากรณ์ด้วย เช่น subject, predictor, complement และรูปแบบ ซึ่งมักจะเป็น phrase จะมีวิธีการโดยเริ่มต้นจากการแบ่ง Translation Unit นำมาแยกองค์ประกอบของแต่ละ TU แล้ววิเคราะห์โครงสร้างของภาษา (Syntactic analysis) เป็นการวิเคราะห์ภาษาต้นฉบับออกเป็นโครงสร้าง, วิเคราะห์ความหมายของโครงสร้างที่ได้ใน Syntactic analysis  และนำมาวิเคราะห์หน้าที่ขององค์ประกอบในหรือลีลาการใช้ภาษาเป็นขั้นตอนสุดท้าย

ขั้นตอนที่ 2 การแปลต้นร่าง (Drafting)

หลังจากที่เข้าใจต้นฉบับแล้ว นักแปลจะดำเนินการหาภาษาที่มีความหมายเท่าเทียมกันกับต้นฉบับ โดยจะหาคำที่มีความหมายใกล้เคียงมากที่สุด แม้ว่าคำที่มีความหมายเหมือนกันทุกประการระหว่างภาษาที่แตกต่างกันจะไม่มีเลยก็ตาม ซึ่งมีการแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆดังนี้
1.             Formal equivalence โดย  Catford และ Nida and Taber หมายถึงคำที่มีความหมายเหมือนกันและมีรูปแบบภาษาเหมือนกัน
2.             Semantic equivalence โดย Newmark หมายถึงภาษาที่มีความหมายตรงตามเนื้อหาที่ผู้เขียนต้นฉบับต้องการ เป็นประเภทที่นักแปลเพลงยามทำแต่มักไม่สำเร็จจะต้องใช้ความรู้ทั้งสองภาษา นอกจากนั้นยังใช้เวลานาน จึงไม่เหมาะสมกับงานแปลด้านธุรกิจ
3.             Textual (Catford) , dynamic (Nida) หรือ Communicative (Newmark equivalence ) หมายถึงภาษาที่มีผลต่อผู้อ่านฉบับแปลเท่าเทียมกับผู้อ่านต้นฉบับ เป็นการมุ่งที่ผลของการใช้ภาษามากกว่ารูปแบบของภาษา ดังนั้นในขั้นนี้ก็คือการหาภาษาฉบับแปลที่มีความหมายเทียบเคียงกับภาษาต้นฉบับนั่นเอง และก็สามารถแบ่งย่อยเป็นระดับต่างๆ ดังนี้
1. Finding equivalence at word and phrase level เป็นการหาคำหรือวลีที่มีความหมายเหมือนต้นฉบับ แต่หากไม่มีคำในภาษาฉบับแปลที่มีความหมายตรงตามต้นฉบับ ก็จะเสนอวิธีการหาคำที่มีความหมายใกล้เคียงที่สุด ด้วยวิธี componential analysis ซึ่งเป็นการวิเคราะห์รายละเอียดความหมายของคำด้วย
2. Finding equivalence at level of grammar ไวยากรณ์ (grammar) นั้น หมายถึงกฎที่ควบคุมโครงสร้างต่างๆ ประกอบด้วย morphology โครงสร้างองค์ประกอบของคำ ซึ่งหากเปลี่ยนไปมีผลต่อความหมาย Syntax กฎเกณฑ์ในการเรียบเรียงกลุ่มคำ, อนุประโยค, และประโยค และสุดท้าย กฎเกี่ยวกับหน้าที่ขององค์ประกอบ
ในการแปลบางครั้งข้อแตกต่างจากโครงสร้างของภาษาฉบับแปลและภาษาต้นฉบับอาจทำให้เนื้อหาที่ต้องการสื่อนั้นเปลี่ยนไป ดังนั้นนักแปลจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับไวยากรณ์ของทั้งสองภาษาหรือมีความรู้ว่าโครงสร้างในภาษาฉบับแปลโครงสร้างใดที่สามารถแทนที่โครงสร้างภาษาต้นฉบับได้
3. Finding equivalence at level of text เป็นการเชื่อมโยงส่วนประกอบของประโยคหรือข้อความ ซึ่งจะมีวิธีเชื่อมโยงภายในข้อความดังนี้ คือ การใช้ pronoun และ article หรือใช้กลุ่มคำที่อ้างถึงสิ่งเดียวกัน (co-reference) , Substitution  เป็นการแทนด้วยคำอื่น, Ellipsis  เป็นการละคำที่มีอยู่แล้ว และ Conjunction ได้แก่เครื่องหมาย (Punctuation) หรือตัวเชื่อมที่ทำหน้าที่เชื่อมประโยคและย่อหน้าเข้าด้วยกัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ adjective เชื่อมโยงในเชิงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามกัน adversative ความขัดแย้งกัน causal ความเป็นเหตุเป็นผล temporal ความบอกเวลาและ continuative ความที่เน้นย้ำ

ขั้นตอนที่ 3 การปรับแก้ไข (Revising)

บทแปลที่ได้จากขั้นตอนที่ 2 นั้น เป็นบทแปลที่สื่อความหมายในด้านเนื้อหาตรงกับต้นฉบับ อย่างไรก็ตามงานแปลที่มีคุณภาพนั้นจะต้องมีการใช้ภาษาแบบที่เทียบเท่าต้นฉบับ และเป็นภาษาที่เป็นธรรมชาติของภาษาฉบับแปล ดังนั้นในขั้นตอนนี้จึงมุ่งที่จะปรับปรุงบทแปลที่ได้มาให้มีคุณภาพดีขึ้น สละสลวยขึ้น ซึ่งผู้แปลควรตรวจสอบแก้ไขข้อผิดและข้อบกพร่องต่างๆที่เห็นได้ชัด หลังจากนั้นควรทิ้งงานไว้สักครู่เพื่อให้ลืมบทแปลต้นฉบับ แล้วจากนั้นค่อยกลับมาตรวจสอบใหม่อีกครั้งเพื่อแก้ไขให้ดีกว่าเดิม

เมื่อตรวจสอบบทแปลกับเนื้อหาต้นฉบับจะพบว่าบทแปลถ่ายทอดเนื้อหาต้นฉบับได้ครบถ้วนไม่มีเนื้อหาใดขาดหายไปหรือไม่มีเนื้อหาที่ผิดไปจากต้นฉบับ นอกจากนั้นเมื่อตรวจสอบอย่างง่ายการใช้ภาษา  จะพบว่าบทแปล มีลีลาภาษาแบบเดียวกับต้นฉบับ คือ เป็นภาษาทางการ และมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับต้นฉบับ ดังนั้น ในการแปลงานหรือบทความสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น เราจะแปลแบบผ่านเลยไปไม่ได้ เพราะทักษะการแปลเป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้ทางภาษา เราควรรู้กระบวนการแปลที่ถูกต้องเพื่อที่สามารถแปลออกมาได้อย่างถูกต้องและสละสลวย จะเห็นได้ว่ากระบวนการแปลนี้นอกจากฝึกทักษะการแปลแล้วนั้น ยังทำให้ผู้แปลเกิดทักษะการคิดและการเกิดการเรียนรู้คำศัพท์ไปด้วย เป็นวิธีการที่อาจจะดูซับซ้อนยุ่งยาก เพราะมีขั้นตอนมาก แต่รับรองได้ว่า หากใช้กระบวนการแปลนี้แล้ว จะเกิดประโยชน์แก่ตัวผู้แปลเป็นอย่างมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น