วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Learning Log 2

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นโรมันแบบถ่ายเสียง

การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง เป็นหลักการถอดตัวอักษรไทยเป็นอักษรโรมันอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถาน ใช้ในสำหรับหนังสือและสิ่งพิมพ์ของรัฐบาล และป้ายชื่อถนนต่างๆ ในประเทศไทย รูปแบบใหม่ประกาศใช้เมื่อ 11 มกราคม พ.ศ. 2542   มีจุดประสงค์เขียนไว้ในประกาศว่า เพื่อให้อ่านคำไทยในตัวอักษรโรมันได้ใกล้เคียงกับคำเดิม ซึ่งมีหลักเกณฑ์ดังนี้

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันนี้ เป็นการถอดโดยวิธีถ่ายเสียง (Transcription) เพื่อให้อ่านคำภาษาไทยที่เขียนด้วยอักษรโรมันให้ได้เสียงใกล้เคียง โดยไม่คำนึงถึงการสะกดการันต์และวรรณยุกต์ เช่น จันทร์ = chan, พระ = phra, แก้ว = kaeo
1. การเทียบเสียงพยัญชนะและสระ
พยัญชนะ            พยัญชนะไทย ก = อักษรโรมันตัวต้น k และตัวสะกด k
พยัญชนะไทย ข ฃ ค ฅ ฆ = อักษรโรมันตัวต้น kh และตัวสะกด k
พยัญชนะไทย ง = อักษรโรมันตัวต้น ng และตัวสะกด ng
              พยัญชนะไทย จ ฉ ช ฌ = อักษรโรมันตัวต้น ch และตัวสะกด t
                           พยัญชนะไทย ซ ทร(เสียง ซ) ศ ษ ส = อักษรโรมันตัวต้น s และตัวสะกด t
              พยัญชนะไทย ญ = อักษรโรมันตัวต้น y และตัวสะกด n
พยัญชนะไทย ฎ ฑ(เสียง ด) ด = อักษรโรมันตัวต้น d และตัวสะกด t
พยัญชนะไทย ฏ ต = อักษรโรมันตัวต้น t และตัวสะกด t
พยัญชนะไทย ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ = อักษรโรมันตัวต้น th และตัวสะกด t
พยัญชนะไทย ณ น = อักษรโรมันตัวต้น n และตัวสะกด n

พยัญชนะไทย บ = อักษรโรมันตัวต้น b และตัวสะกด p
พยัญชนะไทย ป = อักษรโรมันตัวต้น p และตัวสะกด p
พยัญชนะไทย ผ พ ภ = อักษรโรมันตัวต้น ph และตัวสะกด p
พยัญชนะไทย ฝ ฟ = อักษรโรมันตัวต้น f และตัวสะกด p
พยัญชนะไทย ม = อักษรโรมันตัวต้น m และตัวสะกด m
พยัญชนะไทย ย = อักษรโรมันตัวต้น y และตัวสะกด -
พยัญชนะไทย ร = อักษรโรมันตัวต้น r และตัวสะกด n
พยัญชนะไทย ล ฬ = อักษรโรมันตัวต้น l และตัวสะกด n
พยัญชนะไทย ว = อักษรโรมันตัวต้น w และตัวสะกด -
พยัญชนะไทย ห ฮ = อักษรโรมันตัวต้น h และตัวสะกด –
ในทางสัทศาสตร์ ใช้ h เป็นตัวสัญลักษณ์เพื่อแสดงลักษณะเสียงธนิต (เสียงที่มีกลุ่มลมพุ่งตามออกมาในขณะออกเสียง) h ที่ประกอบหลัง k p t จึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางสัทศาสตร์ดังนี้
  -  k  แทนเสียง ก เพราะเป็นเสียงสิถิล (เสียงที่ไม่มีกลุ่มลมพุ่งตามออกมาในขณะออกเสียง) kh จึงแทนเสียง ข ฅ ค ฅ ฆ เพราะเป็นเสียงธนิต
 -   p  แทนเสียง ป ซึ่งเป็นเสียงสิถิล ph จึงแทนเสียง ผ พ ภ เพราะเป็นเสียงธนิต ไม่ใช่แทนเสียง ฟ
  -  t  แทนเสียง ฏ ต ซึ่งเป็นเสียงสิถิล th จึงแทนเสียง ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ เพราะเป็นเสียงธนิต
 ตามหลักสัทศาสตร์ ควรใช้ c แทนเสียง จ ซึ่งเป็นเสียงสิถิล และ ch ใช้แทนเสียง ฉ ช ฌ ซึ่งเป็นเสียงธนิต ดังที่ใช้กันในภาษาบาลี-สันสกฤต เขมร ฮินดี อินโดนีเซีย และภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษา แต่ที่มิได้แก้ไขให้เป็นไปตามหลักสัทศาสตร์ เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้ไขว้เขวกับการสะกดและออกเสียงตัว c ในภาษาอังกฤษซึ่งคนไทยมักใช้แทนเสียง ค หรือ ซ ตัวอย่างเช่น จน/จิต หากเขียนตามหลักสัทศาสตร์เป็น con/cit ก็อาจออกเสียงตัว c เป็นเสียง ค ในคำว่า con และออกเสียง ซ ในคำว่า cit ดังนั้นจึงยังคงให้ใช้ ch แทนเสียง จ ตามที่คุ้นเคย เช่น จุฬา = chula, จิตรา = chittra เป็นต้น
หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นโรมันแบบถ่ายเสียง สระภาษาไทย
สระไทย : อะ, อั- (อะ ลดรูป), รร (มีตัวสะกด), อา = a
สระไทย : รร (ไม่มีตัวสะกด) = an
สระไทย : อำ = am
สระไทย : อิ, อี = i
สระไทย : อึ, อือ = ue
สระไทย : อุ, อู = u
ตามหลักเดิม อึ, อื, อุ และ อู ใช้ u แทนทั้ง 4 เสียง แต่เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเสียง อึ, อื กับ อุ, อู จึงให้ใช้ u แทน อุ, อู และใช้ ue แทน อึ, อื
สระไทย : เอะ, เอ็- (เอะ ลดรูป), เอ = e
ตัวอย่าง : เละ = le, เล็ง = leng, เลน = len
สระไทย : แอะ, แอ = ae
สระไทย : โอะ, -_ (โอะ ลดรูป), โอ, เอาะ, ออ = o
สระไทย : เออะ, เอิ- (เออะ ลดรูป), เออ = oe
สระไทย : เอียะ, เอีย = ia
สระไทย : เอือะ, เอือ = uea
สระไทย : อัวะ, อัว, -ว- (อัว ลดรูป) = ua
ตามหลักเดิม เอือะ, เอือ, อัวะ, อัว ใช้ ua แทนทั้ง 4 เสียง แต่เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเสียง เอือะ, เอือ กับ อัวะ, อัว จึงให้ใช้ ua แทน อัวะ, อัว และใช้ uea แทน เอือะ, เอือ เพราะ เอือะ, เอือ เป็นสระประสมซึ่งประกอบด้วยเสียง อึ หรือ อื : ue กับเสียง อะ หรือ อา = a
สระไทย : ใอ, ไอ, อัย, ไอย, อาย = ai
สระไทย : เอา, อาว = ao
สระไทย : อุย = ui
สระไทย : โอย, ออย = oi
สระไทย : เอย = oei
สระไทย : เอือย = ueai
สระไทย : อวย = uai
สระไทย : อิว = io
สระไทย : เอ็ว, เอว = eo
สระไทย : แอ็ว, แอว = aeo
สระไทย : เอียว = iao
สระไทย : ฤ (เสียง รึ), ฤา = rue
สระไทย : ฤ (เสียง ริ) = ri
สระไทย : ฤ (เสียง เรอ) = roe
สระไทย : ฦ, ฦา = lue
หมายเหตุ ตามหลักเดิม เสียง อิว ใช้ iu และ เอียว ใช้ ieu แต่เนื่องจากหลักเกณฑ์นี้เสียงที่มีเสียง ว ลงท้ายและแทนเสียงด้วยตัว o ซึ่งได้แก่ เอา อาว (ao), เอ็ว เอว (eo), แอ็ว แอว (aeo) ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน อิว ซึ่งเป็นเสียง อิ กับ ว จึงแทนด้วย i + o คือ io ส่วนเสียง เอียว ซึ่งมาจากเสียง เอีย กับ ว จึงแทนด้วย ia + o เป็น iao
แต่ก็ได้รับการวิพากษ์ว่ายังไม่ดีเพียงพอสำหรับชาวต่างชาติในการอ่านภาษาไทย เนื่องจาก ไม่มีสัญลักษณ์หรือระบบแทนเสียงวรรณยุกต์ , สระสั้น และสระยาว ใช้ตัวอักษรเดียวกัน เช่น อะ และ อา ใช้ ตัวอักษร a , เสียง /pʰ/ (, , ภ) ถูกแทนด้วย ตัวอักษร ph ทำให้อ่านผิดว่าเป็น /f/ เหมือนคำในภาษาอังกฤษ เช่น Phuket (ภูเก็ต) อาจอ่านผิดเป็น "ฟักอิต" (พ้องกับ  it ในภาษาอังกฤษ) , เสียงสระ "โอะ โอ" กับ "เอาะ ออ" ใช้ตัวอักษร o ตัวเดียวกัน เช่น คำว่า "พล" และ "พร" เขียนเหมือนกันเป็น phon ถูกอ่านผิดเป็น "ฝน"      เสียง /tʰ/ (, , , , , ธ) ถูกแทนด้วย ตัวอักษร th ทำให้อ่านผิดว่าเป็น /θ/ หรือ /ð/ เหมือนคำในภาษาอังกฤษ เช่น Thewet (เทเวศร์) อาจอ่านผิดเป็น "เดอะเว็ท" และ นอกจากนี้ ถึงแม้ระบบของราชบัณฑิตยสถานจะที่ใช้ในเอกสารราชการเกือบทั้งหมด แต่ก็มีการเขียนคำทับศัพท์ในรูปแบบอื่น เพื่อหลีกเลี่ยงเสียงที่เพี้ยนไปจากเสียงภาษาไทย และเลี่ยงความหมายที่ไม่ดีในภาษาอังกฤษและภาษาอื่น เช่นคำว่า "ธง" หรือ "ทอง" เมื่อทับศัพท์ตามระบบราชบัณฑิตทั้งสองคำจะสะกดได้คำว่า "thong" ซึ่งในภาษาอังกฤษหมายถึง ธอง (กางเกงชั้นในประเภทหนึ่ง) จึงเลี่ยงไปใช้คำว่า "tong" แทน
2.  ความหมายของคำ
1.  หน่วยคำ คือ หน่วยที่เล็กที่สุดและมีความหมาย อาจจะมีพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
2. คำ หมายถึง หน่วยคำหนึ่งคำหรือมากกว่านั้น
3. คำประสม คือ คำตั้งแต่สองคำขึ้นไปมารวมตัวกันและเกิดความหมายใหม่เพิ่มขึ้นจากเดิม
4. คำสามานยนาม สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ คำนามทั่วไปและชื่อภูมิศาสตร์ ชื่อภูมิศาสตร์ คือคำนามทั่วไปที่บอกลักษณะภูมิประเทศตามธรรมชาติและรวมถึงเขตการปกครองหรือคำนำทั่วไปทางภูมิศาสตร์ที่มนุษย์ทำขึ้น
5. คำวิสามานยนาม หมายถึง คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ ได้แก่ ชื่อบุคคล
6.  คำนำหน้านาม หมายถึง คำที่อยุ่หน้าวิสามานยนาม
7.  คำทับศัพท์ หมายถึง คำที่เป็นภาษาต่างประเทศทีเขียนด้วยอักษรไทย อาจจะเป็นคำสามานยนาม หรือ วิสามานยนามก้อได้
3. การใช้เครื่องหมาย
                ในการใช้เครื่องหมายเพื่อแยกพยางค์ มีหลักการง่ายๆคือดังนี้
- เมื่ออักษรตัวสุดท้ายของพยางค์หน้าเป็นสระ และอักษรตัวแรกของพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ng  หรือ ง
- เมื่ออักษรตัวสุดท้ายของพยางค์หน้าเป็น ng ง  ตัวอักษรแรกของพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยสระ
- เมื่ออักษรตัวแรกของพยางค์ที่ขึ้นตามมาขึ้นต้นด้วยสระ
4. การแยกคำ
ในการถอดอักษรไทยเป็นโรมันจะใช้วิธีการเขียนแยกเป็นคำ ๆ แต่ยกเว้นคำประสมเอาไว้เพราะถือว่าเป็นคำๆเดียวกัน และวิสามานยนามที่เป็นชื่อบุคคลก็ให้เขียนติดกัน
5. การใช้อักษรโรมันตัวใหญ่
ตัวแรกของวิสามานยนามและคำนำหน้านามที่อยู่หน้าคำวิสามานยนามนั้นๆ และ อักษรตัวแรกของคำแรกในแต่ละย่อหน้าให้ใช้อักษรโรมันตัวใหญ่
6. การถอดชื่อภูมิศาสตร์
ให้ถอดคำสามานยนามที่เป็นชื่อภูมิศาสตร์เป็นอักษรโรมันโดยไม่ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ
        7. การถอดคำทับศัพท์
คำทับศัพท์ที่เป็นวิสามานยนามให้เขียนตามภาษาเดิม ส่วนคำที่ไม่ประสงค์จะแปลชื่อวิสานยนาม ให้เขียบทับเป็นอักษรโรมันตามการออกเสียงในภาษาไทย
        8. การถอดเครื่องหมายต่าง ๆ
 คำที่มีเครื่องหมาย ๆ ให้ถอดคำซ้ำ วลี หรือประโยคอีกครั้งตามหลักการอ่าน คำที่มีเครื่องหมาย ฯ ให้ถอดเป็นอักษรโรมันเต็มตามคำอ่าน ส่วนคำที่ถอดไม่ได้ก็ให้ถอดเป็นอักษรโรมันตามเสียงอ่าน
        9. การถอดคำย่อ
คำย่อที่มาจากคำเต็มที่รู้จักกันดีให้ถอดเป็นอักษรโรมันตามคำอ่าน คำประสมหลายคมที่ยาว จะถอดตามคำอ่านของตัวย่อหรือเต็มก็ได้
        10. การถอดตัวเลข

ให้ถอดตามหลักการอ่านอักษรวิธีไทย โดยเขียนอักษรโรมันเต็มตามเสียงที่อ่านในภาษาไทย          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น