วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่ 11 สิงหาคม

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน


          ภาษาอังกฤษถือได้ว่าเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสารกับคนทั่วโลก เป็นภาษาที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก สำหรับนักเรียนนักศึกษาและผู้ที่สนใจภาษา รวมถึงประชาชนทั่วไปที่กำลังศึกษาภาษาอังกฤษเพราะกำลังเข้าสู่สังคมอาเซียนอีกด้วย ในทางด้านการเรียนได้มีการพัฒนาหลักสูตรให้เน้นการเรียนภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น มีการเปิดหลักสูตรนานาชาติ โรงเรียนสองภาษา โรงเรียนสามภาษา รวมถึงมีการสอนผ่านทางอินเตอร์ วิทยุ โทรทัศน์ และทางสื่ออื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้เรียนภาษาภาษาอังกฤษ ทั้งนี้การเรียนภาษาจึงจำเป็นต้องมีเทคนิคการเรียนรู้แบบ KWL และกลยุทธ์ในการเรียนภาษาอีกด้วย ซึ่งเทคนิคการเรียนรู้แบบ KWL และกลยุทธ์ในการเรียนภาษาเป็นตัวช่วยสำคัญในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ทั้งสองสิ่งนี้เป็นเทคนิคการเรียนการสอนที่ควบคู่ไปกับการวัดผลการเรียนรู้ นำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในตัวภาษาอย่างชัดเจนและสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และสามารถนำไปประยุกต์กับการเรียนภาษาอื่น ๆ ได้ อีกด้วย
          เทคนิคการเรียนรู้แบบ KWL เป็นเทคนิคการสอนที่ควบคู่ไปกับการวัดผลการเรียนรู้ นำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อค้นหาหรือดึงความรู้ก่อนเรียนของผู้เรียนออกมา ผู้เรียนสามารถตรวจสอบและติดตามการเรียนรู้ของตนเอง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ขยายแนวคิดในเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ ซึ่งจัดว่าเป็นเทคนิคการเรียนรู้ อีกวีธีเทคนิคการเรียนรู้อีกแบบหนึ่งที่เสริมสร้างกิจกรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนเป็นอย่างดี ทำให้ผู้เรียนเกิดความคงทนทางการเรียนที่ยาวนานมากกว่าการเรียนการสอนแบบปกติที่มีผู้นำในชั้นเรียน รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างแบบร่วมมือที่ใช้ได้ผลดี สามารถใช้ได้ทั้งผู้เรียนรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ ประกอบด้วย 
1. What I Know                   ฉันรู้อะไร
2. What I want to know       ฉันต้องการรู้อะไร
3. What I learnt                    ฉันรู้อะไร
การจัดการการสอน KWL สามารถจัดภายในระยะเวลาที่หลากหลายขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่ผู้เรียนสนใจการจัดเก็บข้อมูลควรให้เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบชัดเจน เข้าใจง่าย จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการปลูกฝังให้เรียน รู้จักยอมรับและเปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และยังช่วยพัฒนาทักษาต่าง ๆ มีความรู้ความสามารถพัฒนาตนเองได้ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้รียนเป็นสำคัญและกลกยุทธ์ในการเรียนภาษา
          การเรียนภาษาแตกต่างจากการเรียนวิชาอื่น ๆ เป็นส่วนใหญ่ ตรงที่ว่าต้องมีสองด้านควบคู่กัน คือ ความรู้และทักษะ ความรู้เป็นภาคภาคทฤษฎี ส่วนทักษะเป็นภาคปฎิบัติ การเรียนแต่ภาคทฤษฎีโดยไม่ย่อมไม่อาจทำให้บรรลุเป้าหมาย คือสามารถใช้ภาษาได้ คุณภาพมาตรฐานในการเรียนการสอนก็ยังคงเป็นปัญหาในทุกระดับยังไม่รู้ภาษาอังกฤษพอที่จะฟัง พูด อ่าน เขียน และแปลในขั้นที่ใช้การได้ 
การจะเรียนภาษามีเหตุปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ตัวผู้เรียนเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ผู้เรียนภาษาอังกฤษจึงควรปรับเปลี่ยน ควรจะต้องหันมามองหาข้อดีและใช้ประโยชน์จากปัจจัยเชิงบวกให้มากที่สุด แต่การจะพึ่งตนเองในการเรียนภาษาอังกฤษจนสัมฤทธิผลนั้นจะต้องดำเนินไปอย่างเป็นระบบหรือระเบียบแบบแผนโดยอาจจะมีขั้นตอนสำคัญดังนี้
1. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
2. รู้จัก จัดเตรียม และแสวงหาแหล่งความรู้
3. พัฒนากลยุทธ์การเรียน
4. ลงมือปฏิบัติ
เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยตระหนักถึงเรื่องนี้ สามารถนำไปปรับแต่งให้เป็นกลยุทธ์เฉพาะตัวตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคลโดยต่อไป และยังอาจจะนำไปประยุกต์กับการเรียนภาษาอื่น ๆ ได้อีกด้วยโดยอาศัยกลยุทธ์ในการเรียนภาษาในส่วนของ การศึกษา ฝึกฝน สังเกต จดจำ เลียนแบบ ดัดแปลง วิเคราะห์ ค้นคว้า ใช้งาน ปรับปรุง  เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษให้ดียิ่งขึ้น
         ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันทั่วโลก กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเนื่องจากต้อนรับประชาคมอาเซียนด้วย จึงมีการพัฒนาภาษาอังกฤษให้รุ่งเรื่องมากยิ่งขึ้น โดยเน้นทางด้านการศึกษา เพราะนักเรียนนักศึกษา ผู้คนวัยทำงาน และผู้ที่สนใจภาษาอังกฤษได้มีแหลงเรียนรู้มากยิ่งขึ้น เช่น มีการเปิดโรงเรียนสองภาษา โรงเรียนสามภาษา แหล่งการเรียนรู้ทางอินเตอร์เน็ต  หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และสื่ออื่น ๆ อีกมากมาย โดยการเรียนภาษาจึงจำเป็นต้องมีเทคนิคการเรียนรู้แบบ KWL ซึ่งเป็นการตรวจสอบและติดตามการเรียนรู้ของตนเอง ว่ารู้อะไรมาบ้าง ต้องการรู้อะไร และสิ่งที่ได้เรียนรู้นั้นคืออะไร และกลยุทธ์ในการเรียนภาษา เป็นทักษะต่าง ๆ ในการเรียนภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง ง่ายและเข้าใจ ได้แก่ กลยุทธืการศึกษา ฝึกฝน สังเกต จดจำ เลียนแบบ ดัดแปลง วิเคราะห์ ค้นคว้า ใช้งาน และปรับปรุง ซึ่งเทคนิคการเรียนรู้แบบ KWL และกลยุทธ์ในการเรียนภาษาเป็นตัวช่วยสำคัญในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ   เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ชัดเจนยิ่งขึ้นและสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนนั้นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องแหละเหมาะสมอีกด้วย

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่ 7 สิงหาคม

                สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน


           การเรียนให้ประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยกลวิธีต่าง ๆ มากมายหลายรูปแบบ ผู้เรียนต้องเลือกวิธีการและขั้นตอนการเรียนให้เหมาะสมกับตัวเองเพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจในการเรียนมากขึ้น ความเข้าใจเป็นกระบวนการที่สำคัญในการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ  จากการเรียนรู้ในคาบเรียนวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมาได้รู้เกี่ยวกับการเรียนรู้และความเข้าใจ ซึ่งเป็นกระบวนการสอนที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนและผู้สอนโดยตรง

         I + 1 = Comprehensible Input เป็นการป้อนข้อมูลให้นักเรียนเข้าในโดยใช้ความรู้เดิมเป็นพื้นฐานในการต่อยอดความรู้ด้วยความความรู้ใหม่ที่ยากขึ้นไปในอีกระดับหนึ่ง ซึ่งครูผู้สอนต้องหาวิธีการลดช่องว่างทางความรู้ของนักเรียนให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อให้ได้เข้าใจมากที่สุด
         การแปลภาษาอังกฤษให้เป็นภาษาไทยนั้นผู้แปลต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการแปลที่ดี ได้แก่ การแปลต้องสั้น กระชับ เข้าใจง่าย รักษาต้นฉบับของเนื้อหาเดิม และผู้แปลต้องมีความรู้ความเข้าใจทางพื้นฐานทางไวยากรณ์ให้เพียงพออีกด้วย โดยเฉพาะในเรื่องของ Tenses หรือการเวลา เพราะในส่วนนี้จะไม่มีในภาษาไทย ทำให้เกิดความยากในการเรียบเรียงประโยค ผู้แปลต้องตีความอย่างรอบคอบเพื่อรักษาเนื้อหา หากผู้แปลเข้าใจกาลเวลาผิดอาจทำให้เนื้อความทั้งหมดเปลี่ยนความหมายไปจากเดิมได้
          การแปลต้องอาศัยความรู้พื้นฐานเป็นตัวช่วยในการตีความหมายและต้องใช้ความเข้าใจในการเรียบเรียงเนื้อหาให้ถูกต้องและสมบูรณ์ครบถ้วนที่สุด


สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน


การประเมินตนเอง (Self   Assessment)

          การแปลเป็นเรื่องที่ยากมาก ผู้แปลต้องมีความเชี่ยวชาญทักษะต่าง ๆ ทางภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ซึ่งตัวผู้แปลเองต้องรู้จักตนเองด้วยว่ามีทักษะความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษมากน้อยเพียงใด เพราะความรู้เป็นสิ่งสำคัญในการแปลด้วย 
          การประเมินตนเอง เป็นกระบวนการประเมินความรู้ ความสามารถวิธีหนึ่งที่ต้องทำควบคู่ไปกับการประเมินผลโดยวิธีอื่น ๆ การประเมินตนเองสามารถทำได้โดยการกำหนดวัตถุประสงค์การประเมิน และวิธีการประเมินที่เหมาะสม  โดยการะประเมินตนเองนั้นจะทำให้รู้จักตนเองมากยิ่งขึ้น ทำให้รู้ว่าผู้แปลมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาอังกฤษมากพอที่จะแปลสิ่งเหล่านั้นได้หรือไม่ และจะได้นำผลการประเมินมาพัฒนาตนเองต่อไป


สิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งหมด
          ในการแปลนั้น นอกจากผู้แปลต้องมีความรู้ความเข้าใจ หลักการแปลที่ดีแล้ว ผู้แปลต้องประเมินตนเองด้วยว่ามีความรู้ในด้านการแปลและทางภาษาอังกฤษมากน้อยเพียงใด เพียงพอที่จะแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยได้แล้วหรือยัง เพราะการแปลนั้นจะต้องใช้ความรู้เยอะ จินตนาการสูง ใช้ทั้งความรู้พื้นฐานเดิมและความรู้ใหม่ ๆ ที่ลึกซึ้ง ดังนั้นผู้แปลที่ดีควรรู้จักตนเองก่อนเพื่อที่จะเลือกเรื่องที่จะแปลให้เหมาะสมกับตัวเองได้


Homework 1


จงแปลประโยคต่อไปนี้


1. First year students have student English for at least 10 years.


- นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งมีเรียนอังกฤษอย่างน้อยเป็นสิบปี


2. An accident took place when the plane was flying above a paddy field.


- ตอนที่เครื่องบินกำลังบินอยู่เหนือทุ่งนาได้มีอุบัติเหตุที่ตำแหน่งนั้น


3. The truck driver was unidentified.


- คนขับรถบรรทุกเป็นคนนิรนาม


4. Tomorrow I' ll go out of town.


- พรุ่งนี้ฉันจะไปนอกเมือง


5. Yesterday it rained hard.


- เมื่อวานฝนตกหนัก


6. We invited him to give a lecture over here.


- เราเชิญให้เขามาบรรยายที่นี่หลายครั้งแล้ว


7. I used to study at a boarding school.


- ฉันเคยเรียนโรงเรียนประจำมาแล้ว


8. Have you eaten?


- คุณกินข้าวหรือยัง?


9. I' am still doing my homework.


- ฉันยังคงทำการบ้านของฉัน


10. He always teases me.


- เขาหยอกฉันตลอดเวลา


11. I always get wrong answers.


- ฉันได้รับคำตอบที่ผิดเสมอ

12. I was about to ask you about that. 


- ฉันถามเธอเกี่ยวกับสิ่งนั้น

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

          ในปัจจุบันภาษาอังกฤษถือเป็นภาษากลางที่ใช้ในการสื่อสารอย่างกว้างขวาง ทั้งด้านการเดินทาง การทำงานและในสาขาวิชาชีพต่างๆ การศึกษาภาษาอังกฤษจึงมีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ การแปลจึงมีความสำคัญมากสำหรับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน เพราะการแปลจะช่วยให้เราสามารถเข้าใจและทำงานติดต่อระหว่างประเทศได้สะดวกขึ้น ซึ่งการแปลสามารถยึดเป็นอาชีพเสริมได้และเป็นอาชีพที่ช่วยสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศให้เร็วขึ้น
           การใช้ภาษาอังกฤษในหน่วยงานต่างๆ
1.หน่วยงานต่างๆ ได้ขยายปริมาณ
2.มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นและใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นเอกสารและการประชาสัมพันธ์
3. มีตำราเอกสารภาษาอังกฤษซึ่งเป็นวิทยาการหลายสาขา
      
 การแปลในประเทศไทย

การแปลในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสั่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศษ มีการแปลเอกสารต่าง ๆ ในการติดต่อซื้อขาย เริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทย ตั้งแต่ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ รวมทั้ังความเจริญของเทคโนโลยี ทำให้มีความต้องการด้านการแปลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การแปลจะช่วยให้ลดความไม่เข้าใจกันเนื่องจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกันและสร้างความเข้าใจระหว่างนานาชาติ ทำให้เกิดสันติภาพในโลก
   
  การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี



ผู้แปลจะต้องเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีนักภาษา เพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติและการแปลขาดความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรมผู้แปลจะต้องติดตามวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาภาษาให้ดีให้เหมาะสมกับเรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ทันที ทั้นี้ต้องคำนึงถึงประโยชน์การใช้ให้คุ้มกับเวลาที่จะใช้ในการแปลด้วย


การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย

การแปลในระดับมหาวิทยาลัยเป็นการสอนไวยากรณ์และโครงสร้างของภาษา การใช้ภาษา รวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ ผู้ที่จะแปลต้องเป็นผู้ที่มีความรู็ทางภาษาดีแล้ว

การแปลคืออะไร

การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง โดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับ ไม่มีการตัดต่อหรือเติมแต่ง อีกทั้งควรรักษาให้ได้รูปแบบตรงตามต้นฉบับเดิมและต้องอาศัยจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถเฉพาะของผู้เรียน

คุณสมบัติของผู้แปล

1.  เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ
2.  สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
3.  เป็นผู้ที่มีศิลปะในการใช้ภาษา เข้าใจและซาบซึ้งในความสวยงามของภาษา
4.  เป็นผู้เรียนวิชาภาษาและวรรณคดี หรือภาษาศาสตร์
5.  ผู้แปลจะต้องเป็นผู้รอบรู้ รักเรียน รักอ่าน และรักการค้นคว้าวิจัย 
6.  ผู้แปลต้องมีความอดทนและเสียสละ


จุดมุ่งหมายของผู้สอนแปล

1.  รู้ลึกซึ้งในภาษา มีความรู้พื้นฐานด้านภาษาอย่างดี 
2.  รักการอ่าน ค้นคว้า
3.  มีความอดทน มีความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไข
4.  มีความรับผิดชอบ รู้จักใช้ความคิดของตัวเอง

วัตถุประสงค์ของการสอนแปล

1.  เพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพ
2.  เพื่อสอนแปลให้ได้ผล ทั้งในทักษะในการอ่านและทักษะในการเขียน
3.  เพื่อส่งเสริมให้มีการค้นคว้าเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาด้วยตนอง
4.  เพื่อให้ผู้เรียนแปลได้พบปะเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลอาชีพ


บทบาทของการแปล

การแปลมีบทบาทความสำคัญมากในการติดต่อสื่อสาร เพราะผู้แปลจะเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร 

ลักษณะของงานแปลที่ดี

ควรจะมีเนื้อหาข้อเท็จจริงตรงตามต้นฉบับที่ใช้ภาษาที่ชัดเจนกระชับความ ใช้ภาษาได้เหมาะสม สละสลวย  ให้ผู้อ่านงานแปลเกิดความเข้าใจ



การให้ความหมายในการแปล

การส่งสารโดยวิธีการเเปลเป็นภาษาของตน การให้ความหมายมี 2 ประการ คือ 

1.  การแปลที่ใช้รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายเดียวกัน
2.  การตีความหมายจากบริบทของข้อความต่าง ๆ 

การวิเคราะห์ความหมาย 

สิ่งที่ต้องนำมาวิเคราะห์ความหมายคือ 

1.  องค์ประกอบของความหมาย
2.  ความหมายและรูปแบบ
3.  ประเภทของความหมาย

1.1 องค์ประกอบของความหมาย

-  คำศัพท์
-  ไวยากรณ์ 
-  เสียง

2.1  ความหมายและรูปแบบ

-  ในแต่ละภาษา ความหมายหนึ่งอาจแสดงออกได้หลายรูปแบบ
-  รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย

3.1  ประเภทของความหมาย

-  ความหมายอ้างอิง กล่าวอ้างโดยตรง
-  ความหมายแปล  ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง ซึ่งอาจจะมีทั้งบวกและลบ
-  ความหมายตามบริบท รูปแบบหนึ่ง ๆ ของภาษาจะมีได้หลายความหมาย จึงต้องดูบริบทรอบข้าง
-  ความหมายเชิงอุปมา เกิดจากการเปรียบเทียบโดยเปิดเผยและการเปรียบเทียบโดยนัย โดยแบ่งองค์ประกอบของการเปรียบเทียบได้ 3 ส่วน คือ

    สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ
    สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ
    ประเด็นของการเปรียบเทียบ

การเลือกบทแปล

เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการแปล โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่าง ๆ และได้ความรู้ทั้งด้านทักษะทางภาษาและเนื้อหาด้วย

เรื่องที่จะแปล

เรื่องที่จะแปลมีหลายสาขา จะต้องเลือก ว่าจะแปลสาขาใด ซึ่งจะทำให้คนมีความรู็ทนสมัย ควรมีคณะกรรมการการแปลระดับชาติ เป็นแกน เพื่อสามารถแสวงหาความรู็ได้อย่างกว้สงขวางและลึกซึ้ง 



ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

           โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา เราพูดเป็นประโยคที่มีใจความสมบูรณ์และสื่อสารกันรู้เรื่องเพราะเรารู้และเข้าใจโครงสร้างภาษา โครงสร้างเป็นสิ่งที่บอกเราว่าเราจะนำคำศัพท์ที่เรารู้มาประกอบกันหรือเรียงกันอย่างไรจึงจะเป็นที่เข้าใจของผู้ที่เราสื่อสารด้วย
ในบทความนี้ ผู้เขียนต้องการแสดงให้เห็นความแตกต่างทางโครงสร้างของงภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มักก่อให้เกิดปัญหาแก่นักแปล และชี้ให้เห็นว่านักแปลจะสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาได้อย่างไรโดยเปรียบเทียบให้เห็นประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญและของประโยคประเภทต่างๆในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อให้สามารถนำไปใช้เป็นหลักหรือแนวทางในการแปลได้

1.ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ


      ชนิดของคำ (Parts of speech) เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง เพราะเมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสารประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์

      ประเภททางไวยากรณ์ (grammatical category) หมายถึงลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดของคำ ในภาษาอังกฤษจะต้องคำนึงถึงพจน์ก่อนเมื่อจะใช้คำนามนับได้ ภาษาไทยไม่มีหน่วยคำที่ต้องเติมคำนามภาษาอังกฤษจะบังคับให้ผู้พูดระบุเวลาของเหตุการณ์ชัดเจนแต่ในภาษาไทยไม่มีการบังคับให้บ่งชี้


1.1 คำนาม


เมื่อเปรียบเทียบคำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ พบว่าประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะที่ไม่สำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้ ในภาษาอังกฤษแต่เป็นลักษณะที่ไม่สำคัญหรือไม่ตัวบ่งชี้ในภาษาไทย ได้แก่


1.1.1 บุรุษ (person) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยค หมายถึง ผู้พูด (บุรุษที่1) ผู้ถูกพูดด้วย (บุรุษที่2) หรือถูกพูดถึง (บุรุษที่3) ภาษาอังกฤษแยกสรรพนามตามบุรุษที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 อย่างชัดเจน แต่ในภาษาไทยไม่แยกชัดเจน บางคำเป็นได้หลายบุรุษ) ภาษาอังกฤษมีการเติม –s ที่กริยาของประธานบุรุษที่ 3 สำหรับภาษาไทยมามีการแสดงความต่าง

1.1.2 พจน์ (Number) บ่งบอกจำนวน ว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่ง หรือจำนวนมากกว่าหนึ่งภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้พจน์โดยใช้ตัวกำหนด (determiner) ที่ต่างกัน แต่ในภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้เพราะไม่แยกสรรพสิ่งตามจำนวน

1.1.3 การก (case) คือคำนามที่บ่งบอกคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร สัมพันธ์กับคำในประโยคอย่างไร ในภาษาอังกฤษ การกในคำนามมักแสดงโดยการเรียงคำ ในภาษาไทยไม่มีการเติมหน่วยท้ายคำแต่ใช้การเรียงคำ

1.1.4 นามนับได้กับนามนับไม่ได้ (countable and uncountable nouns) มีการแบ่งนามนับได้กับนับไม่ได้ ในภาษาไทยคำนามทุกคำนับได้ มีการใช้ลักษณนามบอกจำนวนของทุกสิ่ง ในภาษาอังกฤษมีการใช้หน่วยบอกปริมาณกับคำนามที่นับไม่ได้ทำให้เป็นหน่วยเหมือนนับได้ แต่ไม่เป็นระบบทั่วไป

1.1.5 คำชี้เฉพาะ (definiteness) ในภาษาอังกฤษ มีการแยกนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ ในภาษาไทย ไม่มีการชี้เฉพาะ

1.2 คำกริยา  
เป็นหัวใจสำคัญของประโยค มีการแยกความแตกต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้

1.1.1 กาล (tense) แสดงว่าเป็นเวลาในอดีตหรือไม่ใช่อดีต ภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอ แต่ในภาษาไทยไม่จำเป็นต้องใช้
1.1.2 การณ์ลักษณะ (aspect) หมายถึงลักษณะของการกระทำหรือเหตุการณ์การเสร็จสิ้นของการกระทำ การเกิดซ้ำของเหตุการณ์ ในภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญมาก แต่ในภาษาไทยไม่เป็นสิ่งสำคัญ
1.1.3 มาลา (mood) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร ในภาษาไทยมาลาแสดงโดยกริยาช่วยหรือวิเศษณ์เท่านั้น ไม่ได้แสดงโดยการเปลี่ยนรูปกริยา ภาษาอังกฤษมาลาแสดงโดยการเปลี่ยนกริยาหรือกริยาช่วย

1.1.4 วาจก (voice) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยา ในภาษาอังกฤษ มีกริยาเป็นกรรตุวาจก ในภาษาไทย คำกริยาไม่มีการเปลี่ยนรูปเพื่อแสดงกรรมวาจก

1.1.5 กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ (finite vs.non-finite) คำกริยาในภาษาอังกฤษมีการแยกกริยาแท้พียงตัวเดียว ในภาษาไทยไม่มีความแตกต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้

1.3 ชนิดของคำประเภทหนึ่ง

ชนิดของคำประเภทอื่นนอกจากคำนามกับกริยามีความซับซ้อนน้อยกว่านามและกริยา และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลมากเท่านามกับกริยา

2. หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

หน่วยสร้าง (construction) หมายถึงหน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง เมื่อเปรียบเทียบหน่วยสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษพบว่ามีหน่วยสร้างที่แตกต่างกัน


2.1 หน่วยสร้างนามวลี: ตัวกำหนด (Determiner) +นาม (อังกฤษ) vs.นาม (ไทย) นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนด (Determiner) อยู่หน้านามเสมอ ถ้าเป็นคำนามนับได้และเอกพจน์ แต่ในภาษาไทยไม่มีตัวกำหนด


2.2 หน่วยสร้างนามวลี: ส่วนขยาย+ส่วนหลักอังกฤษ vs. ส่วนหลัก+ส่วนขยายไทย ในหน่วยสร้างนามวลี ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลัก ส่วนภาษาไทยตรงกันข้าม


2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก (Passive constructions) ในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเด่นชัดและแบบเดียว แต่ในภาษาไทยหน่วยสร้างกรรมวาจกมีหลายรูปแบบ


2.4 หน่วยสร้างประโยคเน้น subject (อังกฤษ) กับประโยคเน้น topic (ไทย) ภาษาไทยจะเป็นภาษาเน้น topic (topic oriented language) ส่วนภาษาอังกฤษเน้น Subject (Subject-oriented language)


2.5 หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย (serial verb construction) หน่วยสร้างในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษ หน่วยสร้างกริยาเรียง เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไปเรียงต่อกันโดยไม่มีอะไรคั่นกลางยกเว้นกรรมของกริยาที่มาข้างหน้า

3.สรุป

3.1 เรื่องชนิดของคำ

ปัญหาเกิดจากการที่ภาษาหนึ่งมีชนิดของคำบางประเภทแต่อีกภาษาไม่มี ภาษาไทยมีชนิดคำทุกประเภทเหมือนภาษาอังกฤษ ยกเว้นคำคุณศัพท์และมีชนิดที่ไม่มีในภาษาอังกฤษได้แก่ ลักษณนาม และคำลงท้าย


3.2 เรื่องประเภททางไวยากรณ์

สำหรับคำนาม ภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ บุรุษ พจน์ การก นับได้-นับไม่ได้ ชี้เฉพาะ แต่ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ไม่ชัดเจน สำหรับคำกริยา ภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ กาล วาจก กริยาแท้-ไม่แท้ แต่ภาษาอังกฤษบ่งชี้ชัดเจน

3.3 เรื่องหน่วยสร้างหรือรูปประโยค

- นามวลี ในภาษาอังกฤษมีตัวกำหนดแบบบังคับ แต่ในภาษาไทยตัวกำหนดจะมีหรือไม่มีก็ได้

- การวางส่วนขยายในนามวลี มีความแตกต่างตรงกันข้ามกันระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ

- หน่วยสร้างกรรมวาจก ในภาษาอังกฤษมีรูปแบบชัดเจน ในภาษาไทยมีหลายรูปแบบ

- ประโยคเน้นประธานกับประโยคเน้นเรื่อง ประโยคในภาษาอังกฤษมีประธานเสมอ แต่ประโยคในภาษาไทยอาจไม่ต้องมีประธาน

- หน่วยสร้างกริยาเรียง มีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษ

ผู้แปลจะต้องตระหนักในความสำคัญของความแตกต่างทางโครงสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษผู้แปลมักจะมีปัญหาในการแปลน้อยลง และผลงานที่แปลจะใกล้เคียงกับลักษณะภาษาแม่ในภาษาเป้าหมายมากที่สุด