วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่ 15 กันยายน

      สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน         



          ภาษาอังกฤษ คือ ภาษากลางของโลก เป็นภาษาที่ทุกคนจำเป็นต้องรู้และศึกษาเพื่อที่จะสามารถนำความรู้ไปใช้ในการติดต่อสื่อสารในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการท่องเที่ยว ธุรกิจการค้า การทำงาน หรือด้านการเรียนก็ตาม เป็นภาษาที่กำลังมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์มากยิ่งขึ้นและจะยิ่งทวีความสำคัญมากชึ้นอีกเมื่อถึงเวลาที่ประชาคมอาเซียนเข้ามา ฉะนั้นในฐานะที่เป็นนักศึกษา แน่นอนอยู่แล้วว่าในการเรียนนั้นต้องมีรายวิชาภาษาอังกฤษ แต่ในการเรียนภาษาอังกฤษนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่านเลยสำหรับคนไทยที่จะเรียนรู้ภาษาต่างชาติให้เข้าใจและนำไปใช้อย่างถูกต้อง ส่วนใหญ่การเรียนภาษาอังกฤษในทุกสถานศึกษาจะเน้นการเรียนการสอนอยู่ 2 ส่วน คือส่วนไวยากรณ์กับการติดต่อสื่อสาร ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้ ไวยากรณ์เป็นหัวใจหลักในการเรียนภาษา มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เมื่อเข้าใจเรื่องไวยากรณ์แล้วก็สามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ นักเรียนนักศึกษาทุกคนจึงควรเรียนไวยากรณ์ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อนำความรู้มาใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ไวยากรณ์อังกฤษนั้นมีมากมายหลายหัวข้อหลายเรื่อง ทุกเรื่องล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น แต่ในที่นี้ขอยกไวยากรณ์เรื่อง การลดรูปของ Adjective clause ทำให้เป็น Adjective phrase ที่ได้เรียนมาและยังไม่เข้าใจมาศึกษาต่อเพิ่มเติมนอกห้องเรียนและทำความเข้าใจใหม่ให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
จากการเรียนเรื่อง การลดรูปของ Adjective clause ทำให้เป็น Adjective phrase และจากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมทำให้เกิดความเข้าใจว่าการลดรูปหรือย่อรูปของ Adjective clause ให้เป็นวลี (phrase) นั้น สามารถลดรูปเป็นกลุ่มคำต่าง ๆ ได้โดยมีคำนำหน้า who,which และ that  ทำหน้าที่เป็นประธานของ Adjective clause เมื่อลดรูปแล้วจะกลายเป็นกลุ่มคำนาม ได้ 4 กลุ่ม ดังนี้ 
1. กลุ่ม Appositive Noun Phrase ประโยค Adjective Clause มี who,which และ that เป็นประธาน สามารถลดรูปได้หากหลัง who,which และ that  มี BE ให้ตัด BE ออก เมื่อลดรูปแล้วจะเป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า appositive 
เช่น  His novel,which is entitled Behind the picture,is very popular.  เมื่อลดรูปแล้วจะได้เป็น
        His novel, Behind the picture,is very popular.
2. กลุ่ม Preposition Phrase สามารถลดรูปได้หากหลัง who,which และ that เป็นประธาน โดยหากหลัง who,which และ that  มีคำกริยาและบุพบทที่ถ้าตัดคำกริยาแล้วเหลือแต่บุพบทยังมีความหมายเหมือนเดิมให้ตัดคำกริยาออก
เช่น  The lady who is dressed in the national costume is a beauty queen.   เมื่อลดรูปได้เป็น    
        The lady in the national costume is a beauty queen. 
3. กลุ่ม Infinitive Phrase ประโยค Adjective Clause ที่มี who,which และ that สามารถลดรูปได้หากหลังกริยาในรูป BE + Infinitive with to 
เช่น  He is the first person who is to be blamed for the violence yesterday.  เมื่อลดรูปจะได้เป็น     
        He is the first person to be blamed for the violence yesterday. 
4. กลุ่ม Participial Phrase จะแบ่งออกเป็น 2 แบบย่อยอีก คือ Present Participial Phrase หากมี who เป็นประธาน สามารถลดรูปได้โดยหากหลัง who มีกริยาแท้ ให้ตัด who ออก แล้วเปลี่ยนกริยาหลัง who เป็น Present Participial (V-ing) 
เช่น  The school students who visited the national museum were very excited. ลดรูปได้เป็น    
        The school students visiting the national museum were very excited. 
และในส่วนของ Past Participial Phrase หากมี which และ  who เป็นประธาน หากหลัง which และ  who มีกริยาในรูป passive form (BE+ Past Participial) ลดรูปโดยการตัด who,which และ be ออก เหลือแต่ Past Participial เอาไว้ 
เช่น  The money which was lost during the trip was returned to its owner.  ลดรูปได้เป็น       
        The money  lost during the trip was returned to its owner. เป็นต้น 
          จากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมในครั้งนี้ทำให้เข้าใจเนื้อหาเรื่องการลดรูปของ Adjective Clause มากยิ่งขึ้น และสามารถสรุปจากสิ่งที่ค้นคว้าได้อย่างสั้น ๆ เพื่อนำไปเป็นสูตรการท่องจำ ได้ว่า การลดรูปหรือย่อรูป Adjective Clause ให้เป็น Phrase นั้น หากประโยค Adjective Clause  มีประธานเป็น who,which หรือ that สามารถลดรูปได้ 2 วิธี คือ1. เอาประธาน who,which หรือ that และกริยา verb to be ออกไป2. เอาประธาน who,which หรือ that แล้วเปลี่ยนกริยาแท้ให้เป็น V-ing ซึ่งเป็นการจำวิธีการลดรูปแบบต่าง ๆ จำโครงสร้างวิธีการลดรูปและฝึกทำแบบฝึกหัดบ่อย ๆ เพื่อพัฒนาทักษะและทบทวนความรู้ด้วย ซึ่งตัวฉันก็เริ่มเข้าใจในการลดรูปของ Adjective Clause แล้ว   จากการสังเกตและประเมินตนเองหลังจากใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนมาศึกษาเพิ่มเติมในส่วนที่ยังไม่เข้าใจในชั้นเรียนทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ถือเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองที่คุ้มค่ากับเวลาว่าง และสามารถนำความรู้ส่วนนี้ไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไปอีกด้วย ฉะนั้นผู้ที่สนใจภาษาอังกฤษ นักเรียน นักศึกษาที่มีเวลาว่าางมาก ๆ ควรนำเวลาว่างนั้นมาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ฝึกทักษะต่าง ๆ เกี่ยวกับภาษาอังกฤษให้มากขึ้น เพื่อต่อไปในอนาคตสามารถนำความรู้ไปใช้ติดต่อสื่อสารกับคนทั่วโลกได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม


สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน           


          ปัจจุบันนี้การศึกษาไทยมีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากสื่อที่หลากหลาย แหล่งเรียนรู้ก็มีให้เลือกมากขึ้น ซึ่งต่างจากเมื่อก่อนเป็นอย่างมาก ลองมองย้อนกลับไปในยุคที่พ่อแม่เรายังเป็นนักเรียน ผู้เรียนจะต้องเรียนที่วัด โรงเรียนในชนบท เรียนแค่ในห้องเรียน หรือบางคนอาจจะไม่ได้เรียนเลย เพราะฐานะทางบ้านบ้าง โรงเรียนอยู้ไกลบ้าง ต้องทำงานบ้าง ทุกคนในสมัยนั้นต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมาก เดินไปกลับจากบ้านถึงโรงเรียน หลังเลิกเรียนก็กลับมาช่วยพ่อแม่ทำงานต่ออีก ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับนักเรียนสมัยนี้ถือว่ามีการพัฒนาออกมาไกลมาก การเรียนในขณะนี้มีความเจริญมากขึ้น มีความสะดวกสบายมากกว่าเมื่อก่อนหลายเท่า มีรถไว้ขับขี่ไปเรียน มีเงินใช้ เรียนก็คือเรียนไม่ต้องทำงานอะไรเลย ต้องการอะไรก็ได้อย่างนั้น มีความพร้อมทุกอย่างมอบให้จนตัวผู้เรียนไม่ต้องแสวงหาเองแล้วก็ได้ เพราะพ่อแม่ได้มองเห็นความสำคัญของการศึกษาจึงได้จัดเตรียมทุกอย่างไว้ให้หมดแล้ว ซึ่งการศึกษาในสมัยนี้มีสถานศึกษา แหล่งเรียนรู้ และสื่อใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย ทไให้มีตัวเลือกเเละช่องทางในการเรียนรู้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเรียนพิเศษ โรงเรียนกวดวิชา ห้องสมุดออนไลน์ รวมทั้งแหล่งเรียนรู้ทางเทคโนโลยีที่กำลังเป็นที่นิยมในตอนนี้ เว็บไซต์ต่าง ๆในการศึกษาค้นคว้า มีการเรียนและทำแบบทดสอบต่าง ๆ มากมาย ซึ่งกาเรียนออนไลน์นี้เป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนและศึกษาค้นคว้าข้อมูล ดังนั้นผู้เรียนจึงต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ไม่หลงไหลเพลิดเพลินไปกับโซเซียลเน็ตเวิร์กจึงจะเรียนรู้สำเร็จ ในส่วนของตัวฉันก็ได้ใช้วิธีการเรียนรู้แบบออนไลน์ในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากการเรียนในห้องเรียนเพื่อฝึกและพัฒนาทักษาะทางภาษาอังกฤษด้วยเช่นกัน ซึ่งในส่วนของเนื้อหาที่เรียนรู็ด้วยตนเองนอกห้องเรียนนั้นได้แก่เรื่อง การสร้างคำ (Word Formation) เนื้อหาในส่วนนี้ตัวฉันนำไปใช้ในการเรียนวิชาภาษาศาสตร์สำหรับครูภาษาอังกฤษ ซึ่งตัวฉันยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ จึงจำเป็นต้องเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อนำความรู้ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง        
          คำที่เราพบเห็นอยู่ทุกวันนี้ ต่างก็มีการสร้างคำ (Word Formation) ขึ้นมาใช้ทั้งสิ้น เป็นการเติมคำจากรากศัพท์เดิมให้กลายเป็นคำศัพท์ใหม่ ซึ่งมีหลักการสร้างคำใหญ่ ๆ 4 หลัก ดังนี้
1. Affixation เป็นการเติม  Prefix หรือ Suffix เข้าที่ตัวคำศัพท์เดิม หรือ รากศัพท์ (Root) เป็นการสร้างที่สามารถช่วยในการเดาคำศัพท์ได้ง่ายขึ้น โดย Prefix คือ คำอุปสรรคที่เติมหน้ารากศัพท์เดิมแล้วทำให้ความหมายของคำเปลื่อนไป แต่หน้าที่ของคำยังคงเหมือนเดิม ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ได้หลายกลุ่ม เช่น กลุ่มที่ทำให้ความหมายเป็นไปในทางตรงกันข้าม : un , de , dis ทำให้มีความหมายเกี่ยวกับขนาดและดีกรี : super , sub , over , under , hyper , mini คำที่ให้ความหมายเกี่ยวกับเวลาและลำดับ : pre , post , ex , คำที่มีความหมายเกี่ยวกับจำนวน : uni, mono ,  bi , tri , poly คำที่มีความหมายในทางลบ : un , non , in , dis เป็นต้น ส่วนคำ Suffix คือปัจจัยที่เติมหลังคำรากศัพท์เดิม ทำให้ความหมายและหน้าที่ของคำเปลี่ยนไปทั้งสองอย่าง ซึ่งมีคำพวกนี้อยู่จำนวนมาก ที่คุ้นชินก็เช่นคำ -er , -ent , -ess , -ster , -able , -ise , -ize , -fy , -en , -ive , -ful , -al เเละคำอื่น ๆ อีกมากมาย
2. Compounding คือการนำคำสองคำมารวมกัน แล้วเกิดคำใหม่ขึ้นมา เช่นคำว่า note + book =  notebook , blue + berry = blueberry , out + run = outrun เป็นต้น ซึ่งคำที่จำนำมารวมกันนั้น ต้องมีความหมายทั้งสองคำ
3. Clipping คือการสร้างคำใหม่โดยการตัดคำเดิมให้สั้นลง เช่นคำว่า gasoline เป็น gas , influenza เป็น flu เป็นต้น 4. Blending คือการสร้างคำโดยการนำคำคั้งแต่สองคำขึ้นไปมาผสมรวมกัน เป็นคำใหม่ เช่น smoke + frog = smog , moter + hotel = motel , breakfast + lunch = brunch เป็นต้น        
          จากการศึกษาค้นคว้าเรื่อง (Word Formation) นั้นทำให้รู้เกี่ยวกับรากศัพท์ คือ คำศัพท์เดิมและการเติม Prefix หรือ Suffix การรวมคำ การตัดคำ และการผสมคำ ซึ่งวิธีการสร้างคำเหล่านี้ทำให้ได้รู้ที่มาของคำศัพท์ว่ามาจากเดิมว่าอะไร เมื่อสร้างคำใหม่จะได้คำว่าอะไรบ้าง ซึ่งการสร้างคำนี้ถือเป็นเทคนิคในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษได้อีกด้วย ทำให้ง่ายต่อการเดาคำศัพท์ในการอ่านหรือแปลโดยที่ไม่ต้องเปิดหาคำศัพท์ ซึ่งฉันสามารถนำวีธีการสร้างคำนั้มาประยุกต์ใช้ในการเรียนได้ด้วย นอกจากใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้วยังได้ความรู้เพิ่มเติมอีกด้วย ทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นการฝึกให้เป็นคนชอบไขว่คว้าหาความรู้ ฝึกสมาธิให้เรียนรู้จากอินเตอร์เน็ตโดยไม่หลงไหลเพลิดเพลินไปกับโลกออนไลน์ ฉะนั้น หากนักเรียนนักศึกษา หรือผู้ที่สนใจทางภาษาอังกฤษต้องการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมก็สามารถค้นคว้าได้จากสื่อที่หลากหลาย แหล่งเรียนรู้ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นตามยุคสมัย ควรหมั่นฝึกฝนและหาความรู้เพิ่มเติมอยู่สม่ำเสมอ เพื่อสะสมความรู้ไว้ใช้ในอนาคตต่อไป นอกจากนี้การเรียนรู้เพิ่มรู้เพิ่มเติมในครั้งนี้ทำมห้เกิดความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ใหม่ ๆ มากมาย ที่ยังไม่ได้เรียนหรือรู้มาก่อน ถือเป็นเทคนิคการเดาคำศัพท์อย่างง่ายอีกดด้วย หากทุกคนที่มีเวลาว่าง เล่นอินเตอร์เน็ตเรื่อย ๆไม่รู้จะทำอะไร ลองหันมาใช้เวลาส่วนนั้นมาเช้าเว็บไซต์หาความรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของตนเองกันดีกว่า ซึ่งการเรียนรู้นี้ก็สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และเรียนรู้เองที่บ้านก็ได้ ไม่มีการลงทุนใดใดในการเรียนรู้นี้ ลองใช้เวลาว่างเหล่านั้นมาทำให้ตนเองเป้นคนเก่งดีกว่าเพื่อใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องคล่องแคล่วต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น