วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่ 1 กันยายน

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน


          การรู้ภาษาอังกฤษเพียงหนึ่งภาษา คุณสามารถติดต่อสื่อสารผู้คนบนโลกนี้ได้กว่าพันล้านคนซึ่งส่วนใหญ่ล้วนมาจากประเทศยักษ์ใหญ่ที่มีบทบาทสำคัญทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา และด้านอื่นๆของสังคมโลก ภาษาอังกฤษยังเป็นภาษาหลักที่คนต่างชาติต่างภาษานิยมใช้เพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศกันมากที่สุด จนหลายคนนิยามภาษาอังกฤษว่าเป็นภาษานานาชาติ (International Language) หรือ ภาษาสากล (Global Language) คนที่รู้ภาษาอังกฤษจึงหางานได้ง่ายกว่า มีโอกาสได้งานเงินเดือนที่ดีกว่า มีโอกาสเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานและประสบความเร็จในชีวิตมากกว่า ดังนั้นเราต้องหมั่นเรียนรู้และฝึกฝนบ่อย ๆ เพื่อสามารถใช้ภาษาและติดต่อสื่อสารได้อย่างถูกต้อง ซึ่งในการเรียนภาษานั้น ต้องใช้หลักการจำเป็นส่วนใหญ่ ทั้งคำศัพท์ ไวยากรณ์ หรือประโยคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูด หรือ เขียน ส่วนสำคัญที่สุด ก็คือ ประโยคคำนั้น ๆ ที่จะทำให้การสนทนามีความสมบูรณ์ แต่ในบางครั้ง ประโยคก็มีความซับซ้อน คือมีภาคประธานและภาคแสดง แล้วยังมีส่วนขยายเพิ่มเข้ามาอีก ฉะนั้นการทำความเข้าใจในเรื่องของประโยคนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องรู้ในการใช้ภาษาอังกฤษ
          Sentence คือ เป็นกลุ่มคำที่มาประกอบกันให้มีเนื้อความสมบูรณ์ บอกการกระทำ ความเป็นอยู่ หรือความเป็นไป ของสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่พูดหรือเปล่งออกมาแล้ว ได้ใจความ เป็นการนำเอาคำต่างๆ ในส่วนของ Parts of Speech มาร้อยเรียงให้เป็นถ้อยคำหรือข้อความที่ได้ใจความสมบูรณ์ โดยที่ประโยคจะประกอบด้วยส่วนใหญ่ 2 ส่วน คือsubject (ภาคประธาน) และ predicate (ภาคแสดง) ซึ่งภาคประธาน (Subject) มีได้หลายรูปแบบ เช่นเป็นคำนาม, คำสรรพนาม, อนุประโยค, gerund, gerund phrase, infinitive, infinitive phrase ภาคแสดง (Predicate) จะต้องประกอบด้วยคำกริยา และมีกรรมที่รวมเรียกว่า Verb Completion หรือ ส่วนขยายที่เรียกว่า Verb Modifiers. ตัวอย่างเช่น He lives in Bangkok. (เขาอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ) คำว่า He คือ Subject ส่วน lives in Bangkok. เป็น predicate, None of the students knew the answer. (ไม่มีนักเรียนคนใดรู้คำตอบ) คำว่า None of the students คือ Subject ส่วน knew the answer. เป็น predicate เป็นต้น ซึ่ง Sentence แบ่งตามโครงสร้างมีทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ Simple Sentence (ประโยคความเดียว) Compound Sentence (ประโยคความรวม) Complex Sentence (ประโยคความซ้อน) Compound Complex Sentence (ประโยคความรวม + ประโยคความซ้อน)
          Simple Sentence (ประโยคความเดียว) คือ ประโยคที่มีประโยคอิสระ (Independent Clause) มีกริยาแท้ หรือ กริยาหลักอยู่เพียงตัวเดียว ส่วนกริยาช่วยหรือส่วนขยายอื่นๆนั้นอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ประโยคที่ประกอบด้วยประโยคใหญ่หรือประโยคหลักเพียงประโยคเดียวเท่านั้นเช่น He is a manager. He is working now. , Prasert has never been to Japan. , Dave will be arriving in Bangkok November 2nd. , The beautiful girl with black eyes from speaks English very well. จะเห็นว่าประโยคต่างๆที่ยกมาเป็นตัวอย่างนั้น มีกริยาแท้อยู่ในแต่ละประโยคเพียงตัวเดียวซึ่งได้แก่ is, working, been, arriving, speaks และ working ส่วนกริยาช่วยหรือส่วนขยายอื่นๆนั้นอาจจะมีหรือไม่ก็ได้ ไม่ได้บังคับ
          Compound Sentence (ประโยคความรวม) คือประโยคที่ประกอบด้วยประโยคอิสระ (Independent Clause) ตั้งแต่สองประโยคขึ้นไป และมีคำสันธานหรือคำเชื่อมมาเชื่อมประโยคเข้าด้วยกัน (Co-coordinating Conjunction) ได้แก่ and, but, nor, or, for, so, และ yet เช่น University students can live in the dormitories or in the private apartment. , Woman lives longer than men, for they take better care of their health. จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า Compound Sentence เกิดมาจาก Simple Sentence 2 ประโยคมารวมกัน แล้วคั่นกลางประโยคทั้งสองด้วย co-ordinate conjunction (ตัวเชื่อมประสาน) และ conjunctive adverb (คำวิเศษณ์เชื่อม)
        Complex Sentence (ประโยคความซ้อน) คือประโยคที่มีประโยคใหญ่หรือประโยคหลัก (Main Clause) เพียงประโยคเดียว เป็นประโยคย่อยอิสระ (independent clause) ซึ่งอยู่ตามลำพังได้และประโยคเล็ก (Subordinate Clause) ตั้งแต่ 1 ประโยคขึ้นไป เป็นประโยคย่อยไม่อิสระ (dependent clause) ซึ่งต้องพึ่งพา main clause โดยเชื่อมด้วย คำสันธาน เราสามารถแบ่งประเภทของ Complex Sentence ได้ 3 ชนิดคือ Noun Clause แบ่งออกเป็น Noun Clause ที่เชื่อมด้วย question words , Noun Clause ที่เชื่อมด้วย whether , if และ Noun Clause ที่เชื่อมด้วย that Adjective Clause จะมีคำว่า that, which, where, when, why, who, whom, whose, how, in which, of which, of whom เช่น  My boss told me that I would be punished. จากประโยค complex sentence ข้างต้น มีประโยค main clause 1 ประโยค และประโยค subordinate clause 1 ประโยค ดังนี้ My boss told me เป็น main clause that I would be punished เป็น subordinate clause ที่เป็นnoun clause ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา told

          Compound Complex Sentence (ประโยคความรวม + ประโยคความซ้อน) คือประโยคที่ประกอบกับขึ้นระหว่าง Compound Sentence กับประโยค Complex Sentence ธรรมดาๆ ดังนั้น Compound Complex Sentence จึงประกอบด้วยประโยคหลัก (Main Clause) ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปและประโยครองหรืออนุประโยค (Subordinate Clause) อย่างน้อย 1 ประโยค ตัวอย่าง เช่น Before Jack could go to the party, he had to finish his annual report, but he found it hard to concentrate. , While Somsak played the guitar, the boys sang and the girl danced. จากประโยคตัวอย่างจะเห็นได้ว่าจะมีประโยคมารวมกันในประโยคเดียวโดยการใช้ตัวเชื่อม จากประเภทของประโยคทั้ง 4 แบบ ทำให้มองเห็นภาพของรูปแบบประโยคชัดเจนมากขึ้น และสามารถแยกได้ว่าส่วนใดเป็นภาคประธาน ส่วนใดเป็นภาคแสดง นอกจากรูปแบบประโยคที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมี Clause ที่เราต้องศึกษาเพิ่มเติม เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนภาษาอีกด้วย แต่ Clause นี้มีหลายประเภท แต่สิ่งที่เลือกเรียนคือ Adjective clause
          Adjective Clause คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนคุณศัพท์ขยายนามหรือแสดงลักษณะของคำนามหรือคำสรรพนาม ปกติแล้วAdjective Clause จะเชื่อมด้วยประพันธสรรพนาม โดยที่ประพันธสรรพนาม นั้นจะเชื่อมคุณานุประโยคดังกล่าวกับคำนามหรือสรรพนามที่มันขยาย ประพันธสรรพนาม (Relative Pronouns) เหล่านั้นได้แก่ that, which, where, when, why, who, whom, whose, how, in which, of which, of whom เป็นต้น ในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ผู้ส่งสารได้แก่ผู้พูดหรือผู้เขียนอาจต้องการสื่อสารข้อความที่มีรายละเอียดการอธิบาย หรือขยายคำนามในประโยคโดยไม่อาจใช้เพียงคำหรือกลุ่มคำคุณศัพท์ได้ ในกรณีดังกล่าวส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ขยายคำนามในประโยคอาจอยู่ในรูปของประโยคอีกประโยคหนึ่งคือมีภาคประธานและภาคแสดง จึงมีลักษณะเหมือนประโยคย่อยๆ ที่ซ้อนอยู่ในประโยคหลัก โดยใช้คำนำหน้าประโยคย่อยนี้เพื่อเชื่อมต่อกับประโยคหลัก ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำคุณศัพท์ขยายคำนามในประโยคหลักดังกล่าวเรียกว่าadjective clause ซึ่ง adjective clause นี้มีเรื่องที่นักศึกษาควรรู้ เพื่อให้สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพได้แก่ 1) หน้าที่ 2) การใช้คำนำหน้า 3) ประเภท 4) การละคำนำหน้า และ 5) การลดรูป

          หลักการใช้คำประพันธสรรพนาม (Relative Pronouns) เป็นสรรพนามที่ใช้เชื่อมใจความสำคัญเข้าด้วยกันโดยใช้เชื่อม Adjective Clause ที่ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ขยายคำนามหรือคำสรรพนาม ที่วางอยู่ข้างหน้าของมัน(1) who ใช้กับคำนามที่เป็นบุคคลหรือเกี่่ยวกับคนซึ่งเป็นประธานของใจความขยายหมายความว่า who ใช้เชื่อมคำนามหรือคำสรรพนาม ที่เป็นบุคคลกับอนุประโยคที่ใช้ขยายหรือแสดงลักษณะของนาม หรือสรรพนามตัวนั้น (2) whom ใชักับคำนามที่เป็นบุคคลหรือเกี่ยวกับคนซึ่งเป็นกรรมของใจความขยาย หมายความว่า whom ใช้เชื่อมคำนามหรือคำสรรพนามที่เป็นบุคคลซึ่งเป็นกรรมของอนุประโยคที่มันขยาย (เป็นกรรมของกริยาของอนุประโยคที่มันขยาย) (3) whose ใช้แสดงความเป็นเจ้าของของบุคคล หมายความว่า whose ใช้เชื่อมคำนามหรือคำสรรพนามที่เป็นบุคคลซึ่งวางอยู่ข้างหน้าของมันเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของแทนคำนามหรือคำสรรพนามที่มันขยาย (4) which ใช้กับคำนามหรือคำสรรพนาม ที่เป็นสิ่งของ สัตว์ ซึ่งหากเป็นกรรมของใจความขยาย ก็สามารถละทิ้งได้ (5) where ใช้กับคำนามประเภท สถานที่ ซึ่งถ้าหากเป็นกรรมของใจความขยายก็สามารถละทิ้ง (6) when ใช้กับคำนามที่บอกเวลา เพื่อขยายที่อยู่ข้างหน้าของมัน (7) why ใช้ขยายคำนามที่มีความหมายถึงสาเหตุ เหตุผล คำอธิบายซึ่งวางอยู่ข้างหน้าของมัน (8) that ใช้กับคำนามที่เป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ สถานที่ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือสามารถใช้แทน who, whom, where, which ก็ได้
          การลดรูป adjective clause คำนำหน้า “who”, “which” และ “that” ที่ทำหน้าที่เป็นประธานของ adjective clause สามารถลดรูปเป็นกลุ่มคำต่าง ๆ ได้ โดยเมื่อลดรูปแล้วจะกลายเป็นกลุ่มคำนาม ดังนี้ Appositive Noun Phrase Prepositional Phrase Infinitive Phrase Participial Phrase Appositive Noun Phrase adjective clause ซึ่งมี who, which และ that เป็นประธาน สามารถลดรูปได้หากหลัง who, which และ that มี BE และให้ตัด BE ออกด้วย เมื่อลดรูปแล้ว จะเป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า appositive Prepositional Phrase adjective clause ที่มี who, which และ that เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who, which และ that มีคำกริยาและบุพบท ที่ถ้าตัดคำกริยาแล้วเหลือแต่บุพบท ยังมีความหมายเหมือนเดิมให้ตัดคำกริยาออกได้ adjective clause ที่มี who, which และ that สามารถลดรูปได้ หากข้างหลังมีกริยาในรูป BE + infinitive with to Participial Phrase Present Participial Phrase adjective clause ซึ่งมี who เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who มีกริยาแท้ ลดรูป โดยตัด who และเปลี่ยนกริยาหลัง who เป็น present participle (V-ing) 2) Past Participial Phrase adjective clause ซึ่งมี which และ who เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง which และ who มีกริยาในรูป passive form (BE + past participle) ลดรูปโดยตัด which/who และ BE ออกเหลือแต่ past participle
          ในศึกษาเรื่อง Sentence และ Adjective clause ทำให้เกิดความเข้าใจในเรื่องประโยคและอนุประโยค ซึ่งประโยค ก็คือข้อความที่มีความหมายสมบูรณ์ ส่วนอนุประโยค คือประโยคที่ไม่มีเนื้อความสมบูรณ์ในตัวเอง ยังต้องมีประโยคมาเสริมอีก เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของประโยคและเข้าใจง่ายขึ้น อีกทั้งการเรียนครั้งนี้นั้น ทำให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น สามารถนำความรู้ในส่วนนี้มาใช้ในการสื่อสารได้ทั้งการพูด การเขียน และด้านอื่น ๆ อีกด้วยการเรียนรู้ในสิ่งเหล่านี้ทำให้สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อประเทศเปิดเป็นประเทศอาเซียน เราก็จะไม่ตกยุค สามารถพูดคุยสื่อสารกับชาวต่างชาติได้ ทุกคนเรียนรู้และใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องคล่องแคล่ว และสามารถใช้ชีวิตในยุคสมัยใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ


สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน


          ภาษาอังกฤษปัจจุบันคือภาษานานาชาติ เป็นภาษากลางของโลก ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของมนุษยชาติ เป็นภาษาที่มนุษย์บนโลกใช้ติดต่อระหว่างกันเป็นหลัก ไม่ว่าแต่ละคนจะใช้ภาษาอะไรเป็นภาษาประจำชาติ เมื่อต้องติดต่อกับคนอื่นที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมกันทุกคนจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ทุกชาติทุกภาษาจึงบรรจุวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองรองลงมาจากภาษาประจำชาติ เป็นแกนหลักของหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ปฐมวัยไปจนถึงการศึกษาตลอดชีวิตแต่เมื่ออาเซียนกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็น “working language” เราจึงต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ตามความหมายของถ้อยคำว่าเป็น “ภาษาทำงาน” ของทุกคนในอาเซียน ทุกคนที่ “ทำงานเกี่ยวกับอาเซียน”, “ทำงานในอาเซียน”, ทำงานร่วมกับเพื่อนอาเซียน”, “มีเครือข่ายประชาสังคมอาเซียน”, “แสวงหาโอกาสทางการศึกษาในอาเซียน”, “มีเพื่อนในอาเซียน” และ “เดินทางท่องเที่ยวในอาเซียน” ทุกคนต้องเรียนรู้และใช้ภาษาอังกฤษให้ได้ จะต้องมีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ และใช้ได้ดีด้วย ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษาที่สองของชาวอาเซียน เคียงคู่ภาษาที่หนึ่งอันเป็นภาษาประจำชาติของแต่ละคน ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมืออันดับหนึ่งสำหรับพลเมืองอาเซียน ในการสื่อสารสร้างสัมพันธ์สู่โลกกว้างของภูมิภาคอาเซียน โลกแห่งมิตรไมตรีที่ขยายกว้างไร้พรมแดน โลกแห่งการแข่งขันไร้ขอบเขตภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม เมื่อประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งสมาชิกที่กำลังจะก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้ ภาษาอังกฤษยิ่งทบทวีความสำคัญและความจำเป็นมากขึ้น ดังนั้นความสำคัญของภาษาประจำชาติและภาษาต่างประเทศ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาความรู้ในสังคมอาเซียนและเวทีโลกต่อไป ฉะนั้นเราจึงควรจะเรียนรู้ภาษาอาเซียนเพื่อต้อนรับประชาสังคมอาเซียนในอีกไม่ช้านี้ ตัวฉันจึงใช้เวลาว่างจากการเรียนมาศึกษาเกี่ยวกับภาษาอาเซียน เพื่อนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ในอนาคตอันใกล้นี้อีกด้วย   
          แม้จะอยู่กันคนละพรมแดน พูดกันคนละภาษา ก็ไม่เป็นปัญหา หากรู้จักปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงบนความแตกต่าง ซึ่งจากการศึกษาก็พบความต่างดังนี้ ประเทศไทยและลาว ใช้การไหว้,
กัมพูชา จะคล้ายกับการไหว้ แต่จะโค้งศีรษะลงเพียงเล็กน้อย เอามือไว้ระดับหน้าอก,เวียดนาม จับมือ 2 ข้าง และ เด็กๆ , ชาวเวียดนามจะกอดอกพร้อมกับโค้งตัวลงคำนับผู้ใหญ่, พม่าและอินโดนีเซีย จับมือ, สิงคโปร์ จับมือกันเบาๆ, ฟิลิปปินส์ จับมือหรือโค้งคำนับ, บรูไนและมาเลเซีย ผู้ชายจับมือกับผู้ชาย และผู้หญิงจับมือกับผู้หญิง การกล่าวทักทายก็ต่างกัน ประเทศไทยใช้คำว่า สวัสดี , ประเทศสิงคโปร์ ใช้คำว่า ไฮ, เฮลโล่, ประเทศมาเลเซีย ใช้คำว่า ซาลามัต ปาฆี, ประเทศอินโดนีเซีย ใช้คำว่า ซาลามัต ปากี, ประเทศฟิลิปปินส์ ใช้คำว่า กูมูสตากับคำว่า โพ, ประเทศบรูไน ใช้คำว่า ซาลามัต ปาฆี, ประเทศเวียดนาม ใช้คำว่า ซิน จ่าว, ประเทศลาว ใช้คำว่า สะบายดี, ประเทศเมียนมาร์ ใช้คำว่า มิงกะลาบา, ประเทศกัมพูชา ใช้คำว่า ซัวซะได  ในการถามชื่อ ประเทศไทยใช้คำว่า คุณชื่ออะไร?, ประเทศสิงคโปร์ ใช้คำว่า ว้อทส ยัว เนม, ประเทศมาเลเซีย ใช้คำว่า ซียาปา นามา อันดา, ประเทศอินโดนีเซีย ใช้คำว่า เซียปา นะมา เซาดะรา, ประเทศฟิลิปปินส์ ใช้คำว่า อะนอง พานากาลาน โม, ประเทศบรูไน ใช้คำว่า ซียาปา นามา อันดา, ประเทศเวียดนาม ใช้คำว่า บั่น เตน หล่า สี่, ประเทศลาวใช้คำว่า เจ้าซื่อหยัง, ประเทศเมียนมาร์ใช้คำว่า นาแมแบ่โล่ค่อตะแล, ประเทศกัมพูชา ใช้คำว่า เนียะชะมัวะอะไว ในการตอบว่าชื่ออะไร ประเทศไทยพูดว่า   ฉันชื่อ…, ประเทศสิงคโปร์ ใช้คำว่า มาย เนม อีส, ประเทศมาเลเซีย ใช้คำว่า นามา ซายา, ประเทศอินโดนีเซียใช้คำว่า นามา ซายา, ประเทศฟิลิปปินส์ ใช้คำว่า อัง ปะงาลัน คู ไอ ซี, ประเทศบรูไน ใช้คำว่า นามา ซายา, ประเทศเวียดนาม ใช้คำว่า บ่าน เตน หยี่, ประเทศลาว ใช้คำว่า ข้อยซื่อ, ประเทศเมียนมาร์ ใช้คำว่า จะด่อกับคำว่า จะมะ นาแม, ประเทศกัมพูชา ใช้คำว่า เนียะชะมัวะ, คำว่ายินดีที่ได้รู้จัก ประเทศไทย ใช้คำว่า ยินดีที่ได้รู้จัก, ประเทศสิงคโปร์ ใช้คำว่า ไนซ์ ทู มีท ยู, ประเทศมาเลเซีย ใช้คำว่า เฆีมบีรา ดาปัต เบิรเกอนาลัน, ประเทศอินโดนีเซีย ใช้คำว่า เจมบิรา ดาปัต เบอเตมู อันดา, ประเทศฟิลิปปินส์ ใช้คำว่า อิคินากากาลาค คอง, ประเทศบรูไน ใช้คำว่า เจมบิรา ดาปัด เบอเตมู อันดา, ประเทศเวียดนาม ใช้คำว่าเซิด เฮิน แห่งห์ เดือก กับ โอม, ประเทศลาว ใช้คำว่า ยินดีที่ได้ฮู้จักกัน, ประเทศเมียนมาร์ ใช้คำว่า ทะหม่านต้วยยะต่าวันต่าบ่าแด่, ประเทศกัมพูชา ใช้คำว่า รึกเรียยนาสแดลบานสะเกือล นี่เป็นตัวอย่างการทักทายแบบพื้นฐานในประเทศกลุ่มอาเซียน      
      จากการศึกษาภาษาอาเซียนจะเห็นได้ว่า ในแต่ละประเทศจะมีภาษาที่ต่างกัน ลักษณะการทักทายที่แตกต่างกัน แต่แน่นอนเมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เราจำเป็นที่จะต้องมี "ภาษาอาเซียน" เพื่อเป็นสื่อกลางในการทำงานของประเทศสมาชิก ซึ่งภาษาดังกล่าวคือ "ภาษาอังกฤษ" นั่นเอง คือถึงเราจะเรียนรู้ภาษาอาเซียนแล้วแต่มันคงยังไม่พอสำหรับสังคมสมัยนี้ เพราะตอนนี้ได้นับถอยหลังเวลาเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว ทุกคนต้องต้องรู้ทั้งภาษาอาเซียนและภาษาอังกฤษด้วย ดังนั้นเราต้องศึกษาภาษาเหล่านี้เพิ่มขึ้นและต้องฝึกฝนการใช้ภาษาให้คล่องแคล่ว เมื่อเข้าสู่อาเซียน หรือ AEC สื่งที่จะต้องรู้ก็คือ ข้อมูลของประเทศในสมาคมอาเซียน อีกทั้งสิ่งที่เราไม่ควรที่จะละเลยก็คือ ภาษาอาเซียน 10 ประเทศ ที่น่าจะรู้บ้างเมื่อต้องเผชิญหน้ากับชาวต่างชาติในอาเซียน เราก็ต้องสร้างความอินเตอร์ให้กับตัวเรา ต่อจากนี้หากเราเจอชาวต่างชาติ เราจะสามารถโชว์การทักทายของประเทศนั้นได้อย่างมั่นใจ
จากที่ฉันได้ศึกษาเกี่ยวกับภาษาอาเซียน ทำให้ฉันได้เรียนรู้การใช้ภาษาของประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ รู้ประโยคการทักทายเบื้องต้นในประเทศต่าง ๆ เมื่อพบชาวต่างชาติ สามารถนำความรู้จากการศึกษาครั้งนี้ไปใช้ในการพูดคุยได้อย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว เมื่อเห็นความสำคัญของภาษาประจำชาติและภาษาต่างประเทศว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาความรู้ในสังคมอาเซียนแล้ว ฉะนั้นเราจึงควรจะเรียนรู้ภาษาอาเซียนและภาษาอังกฤษ ให้เกิดความชำนาญมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการต้อนรับประชาสังคมอาเซียนในอีกไม่ช้านี้  ถึงเวลาแล้วที่ชาวไทยจะต้องพัฒนาตนเองในการเรียนรู้ให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์ในประชาคมอาเซียน ณ วันนี้เป็นต้นไปนอกจากนั้นการเรียนรู้ครั้งนี้ยังทำให้ฉันเกิดแง่คิดดี ๆ อีกด้วย คือ ในแต่ละประเทศนั้นจะมีการใช้ชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม การแต่งกาย และภาษาที่แตกต่างกันมาก แต่ในความแตกต่างนั้นก็ไม่ได้แตกแยก ทุกประเทศสามารถปรับตัวเข้าหากัน โดยใช้ภาษาอังกฤษ เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และทุกประเทศสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขในความต่างนั้น ทำให้ฉันคิดย้อนกลับมาถึงชีวิตของตัวเอง ในการมาเรียนมหาลัย มาเจอเพื่อนใหม่ ที่มาจากต่างพ่อ ต่างแม่ ต่างสถานที่ มาอยู่ร่วมกัน ต่างคนต่างนิสัย เราต้องปรับตัวเข้าหากันเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้ในรั้วมหาลัย กลุ่มประชาคมอาเซียนและภาษาอาเซียนก็เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น